>>>Lampang Soccer : ความเคลื่อนไหววงการฟุตบอลลำปาง<<< จุดเริ่มต้นของชุมชนฟุตบอลลำปาง ข่าวสารในแวดวง ทางฝันสู่ไทยพรีเมียร์ลีก ติดตามได้ที่นี่ +++ รักลำปาง...ดูบอลลำปาง : สานฝันสู่ไทยพรีเมียร์ลีก +++>>>แชมป์ล่าสุดในลำปาง<<< ฟุตซอล เทศบาลนครลำปาง ประจำปี 2552 ทีมชนะเลิศ รุ่นอาุยุไม่เกิน 18 ปี ได้แก่ ทีมมะพร้าวหวาน B นักกีฬาดีเด่นคือ นายภานุพงศ์ กิวงค์พรม รุ่นประชาชนชายทั่วไป (อายุ 40 ปีขึ้นไป) ได้แก่ ทีมพรานเหนือ รุ่นประชาชนชายทั่วไป ได้แก่ทีม มะพร้าวหวาน C นักกีฬาดีเด่นคือ นายณัฐภัทร ไชยจักร จากทีมมะพร้าวหวาน+++ฟุตบอล 11 คน เทศบาลนครลำปาง ประจำปี 2552 (15 มีนา-3 พฤษภา 52) ทีมชนะเลิศ รุ่นอาุยุไม่เกิน 18 ปี ได้แก่ ทีมโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย นักกีฬาดีเด่นได้แก่ นายพงศกร ยาลังกา จากทีมโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย รุ่นประชาชนชายทั่วไป (อายุ 40 ปีขึ้นไป) ได้แก่ ทีมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ นักกีฬาดีเด่นคือ นายสมชาย ติวะตันสกุล จากทีมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ รุ่นประชาชนชายทั่วไป ได้แก่ ทีมชมรมกีฬารถไฟนครลำปาง นักกีฬาดีเด่นได้แก่ นายอาุภาพ จรเทศ จาก ทีมชมรมกีฬารถไฟนครลำปาง Lampang Soccer

คุย+แลกเปลี่ยน+แจ้งข่าววงการฟุตบอลลำปางได้ที่นี่

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

How to ตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพ1 : รูปแบบสหกรณ์


เบื้องหน้าที่สดใส ล้วนมีเบื้องหลังที่ยากลำบาก
ที่มาภาพ : http://www.chonburifc.net/webboards/view.php?qID=241


ว่าด้วยการจัดตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพนั้น ดูแล้วมีหลายทางเลือก ที่อาจารย์หนุ่ยเสนอมาการใช้ระบบสหกรณ์ มันทำให้ผมนึกถึงตอนเป็นสมาชิกสหการตอนสมัยประถมเลย ซื้อหุ้นเยอะเท่าไหร่ ก็ได้ปันผลเยอะเท่าันั้น แล้วมันก็จูงใจให้เราไปซื้อของที่สินค้าสหการอีกด้วย แล้วเรื่องนี้ถ้าเป็นสมาคมฟุตบอลบ้างเล่า จะน่าตื่นเต้นขนาดไหน

จดทะเบียนฟุตบอลแบบสหกรณ์


โดยอาจารย์หนุ่ย
ที่มา http://www.mahasarakhamcity.com/webboard/lofiversion/index.php/t51.html (12 พฤษภาคม 52)

สโมสรฟุตบอลอาชีพทั่วโลก เขาจะบริหารงานในรูปแบบของบริษัท จำกัด ครับ แต่ถ้าต้องการจะบริหารงาน
ในรูปแบบของสหกรณ์ (ซึ่งเป็นนิติบุคคล) ก็ได้เหมือนกัน และเข้ากับบรรยากาศฟุตบอลลีกของเมืองไทยในยุคเริ่มต้นด้วยครับ วิธีสร้างสโมสรฟุคบอลอาชีพในแนวทางแบบสหกรณ์ เป็นบทความที่ผมเขียนไว้นานแล้ว จะนำมาให้อ่านอีกรอบครับ

วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์

เมื่อพูดถึงคำว่าสหกรณ์ทุกคนจะเข้าใจไปว่า จะต้องประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเกษตรเท่านั้นถึงจะก่อตั้งสหกรณ์ได้ เพราะเราเคยชินกับคำว่า

สหกรณ์การเกษตรจนชินหู แต่รูปแบบ วิธีทำและการดำเนินงานของสหกรณ์ เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพได้

เนื่องจากผลการดำเนินการของสหกรณ์ (เทียบได้กับสโมสรฟุตบอล) ขึ้นอยู่กับการใช้บริการของสมาชิก (แฟนคลับของสโมสรฟุตบอล)

โอกาสจะขาดทุนหรือล้มละลาย จึงเกิดขึ้นได้ยากมาก และจะถูกนายทุนเงินหนามาเทคโอเวอร์เหมือนบริษัทก็เป็นไปไม่ได้ เพราะถูกจำกัดสิทธิ์ในการถือหุ้นตามกฎหมาย ระบบสหกรณ์ผู้ถือหุ้นจะไม่ร่ำรวยเหมือนการถือหุ้นของบริษัท แต่สหกรณ์เองสามารถดำเนินการให้เกิดเงินกำไรมาจ่ายปันผลให้สมาชิกทุกปีเหมือนกับบริษัท

ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยจะมีสหกรณ์อยู่ทั้งหมด 6 ประเภท คือ
1. สหกรณ์การเกษตร
2. สหกรณ์นิคม
3. สหกรณ์ประมง
4. สหกรณ์ร้านค้า
5. สหกรณ์ออมทรัพย์
6. สหกรณ์บริการ

ผมขออธิบายรูปแบบของสหกรณ์ให้ฟังคร่าวๆ ก่อนนะครับ ก่อนจะมาปรับเข้ากับวิธีการสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพ ในรูปแบบของสหกรณ์ต่อไป

การเริ่มก่อตั้งสหกรณ์ จะต้องมีบุคคลไม่น้อยกว่า 10 คนขึ้นไป รวมกลุ่มกันเปิดรับสมาชิกโดยการขายหุ้นสหกรณ์ให้กับสมาชิกทุกคน ตาม

หลักกฎหมายแล้ว สมาชิกแต่ละคนจะถือหุ้นสหกรณ์ได้ไม่เกิน 5% ของราคาหุ้นทั้งหมด (จึงไม่มีสิทธิ์เทคโอเวอร์) เมื่อเปิดรับสมาชิกและขายหุ้นได้จนครบตามวัตถุประสงค์แล้ว (เรายังสามารถขายหุ้นสหกรณ์ให้สมาชิกใหม่ได้เรื่อยๆ) ผู้ก่อตั้งจำนวน 10 คนก็จัดประชุมสมาชิกผู้ถือหุ้นทั้งหมดเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของสหกรณ์ มีอายุดำเนินงานกี่ปีก็ว่าไป

กรรมการผู้ดำเนินงานของสหกรณ์ จะไปจ้างผู้บริหารมืออาชีพมาดำเนินงานแทนกลุ่มตนก็ได้ โดยที่ตนมีหน้าที่ตรวจสอบ สมาชิกของสหกรณ์ทุกคนมีหน้าที่มาใช้บริการของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ของตนก่อให้เกิดมีรายได้ขึ้นมา เมื่อสหกรณ์ดำเนินงานมาจนครบปีหรือสิ้นสุดระยะบัญชี

บรรดาสมาชิกทุกคนก็จะได้รับเงินถัวเฉลี่ยคืนคนละ 10% ของยอดที่ตนเองไปใช้บริการทั้งปี เช่น ตนเองไปใช้บริการสหกรณ์ทั้งปี เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 บาท ก็จะได้เงินคืน 10,000 บาท เป็นต้น (ข้อนี้บริษัทห้างร้านไม่มี) และเมื่อสหกรณ์หักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ถ้าสหกรณ์มีกำไรในปีนั้น ก็จะจ่ายเป็นเงินปันผลคืนให้สมาชิกตามจำนวนหุ้นที่ตนเองซื้อเอาไว้

คราวนี้เรามาดูแนวทางในการทำสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบการจัดตั้งสหกรณ์ดูบ้าง

เริ่มจากผู้ริเริ่มจำนวน 10 คน จะเป็นคณะผู้ทำทีมฟุตบอลในตอนนี้หรือจะเป็นแฟนคลับก็ได้ ร่วมกันร่างระเบียบข้อบังคับและกำหนดราคาหุ้นผมคิดว่าราคาหุ้นน่าจะอยู่ระหว่าง หุ้นละ 100 – 1,000 บาท ถ้าได้ราคา ประมาณ 500 บาท น่าจะดี เพราะนักเรียนนักศึกษา

พอจะมีสิทธิ์ซื้อกันได้ การขายหุ้นใช้วิธีแบบแชร์ลูกโซ่ ให้สมาชิกคนหนึ่งหาสมาชิกใหม่มาซื้อหุ้นเพิ่ม 5 – 10 คน หรือประกาศข่าว เชิญชวนในขณะที่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลในสนามก็ได้ โดยการแจกโปว์ชัว หรือนัดประชุมผู้สนใจเป็นกลุ่มๆ เมื่อได้สมาชิกหรือแฟนคลับตามจำนวนที่ต้องการแล้ว

หากได้ประมาณ 1,000 คน ขึ้นไปสโมสรฟุตบอลไม่มีโอกาสล้มละลาย (ควรมีสิทธิ์ถือได้คนละหุ้นเพื่อตัดปัญหาเรื่องคะแนนเสียง) จำหน่ายหุ้นละ 500 บาท จะได้เงินเตรียมทีมขั้นต้น 500,000 บาท

สมาชิกของสโมสรที่ถือหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุมกันเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการขึ้นมาบริหารงานสโมสรฟุตบอล จำนวน 9 –15 คนแล้วแต่ความเหมาะสม
วิธีการเลือกตั้งคือ ให้สมาชิกผู้ถือหุ้นทุกคน เสนอตนเองหรือบุคคลอื่นเสนอชื่อขึ้นมาเป็นคณะกรรมการผู้บริหารสโมสร พร้อมกับแถลงนโยบายในการทำทีมของตน ให้สมาชิกทุกคนทราบ

ให้คนที่ได้รับเลือกคะแนนสูงสุดเรียงลำดับลงมาเรื่อยๆ จนครบจำนวนคณะกรรมการบริหารสโมสร เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งทำการจัดสรรตำแหน่งกันเองโดยวิธีการโหวตเสียงส่วนมาก ตั้งแต่ตำแหน่งประธานฯ ไปจนครบทุกตำแหน่ง และให้อยู่ในตำแหน่งได้สมาชิกทุกคนมีสิทธิ์เลือกกรรมการผู้บริหารสโมสรได้เพียง 1 คนเท่านั้นโดยการลงคะแนนแบบลับเพียงปีเดียว เท่านั้น โดยให้หมดวาระลงเมื่อหมดฤดูกาลแข่งขันในแต่ละปี แต่มีสิทธิ์ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาใหม่ได้อีกครั้ง

เพื่อไม่ให้มีการซื้อเสียงเกิดขึ้นให้สมาชิกที่มีสิทธิ์เลือกตั้งลงชื่อนามสกุล และหมายเลขสมาชิกไว้ในบัตรเลือกตั้งนั้นด้วย

คณะกรรมการบริหารสโมสร มีหน้าที่ทำสัญญาจ้างผู้ฝึกสอน และนักฟุตบอลทุกคน และจะทำการจ้างผู้บริหารมืออาชีพ เพื่อดำเนินการในการในเรื่องการหารายได้เข้าสโมสรก็ได้ สมาชิกสโมสรฟุตบอลผู้ถือหุ้นทุกคน(แฟนคลับ) มีหน้าที่ใช้บริการต่างๆ ของสโมสรเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับสโมสร เช่น ซื้อตั๋วเข้าชมการแข่งขัน ซื้อสินค้าจากร้านที่สโมสรเปิดให้บริการ และร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ทางสโมสรจัดขึ้น

เมื่อสิ้นปีหรือจบฤดูกาลแข่งขัน สโมสรจะถัวเฉลี่ยคืนจำนวนเงินที่สมาชิกแต่ละคนมาใช้บริการทั้งปี จำนวน 10% ของยอดรายได้ที่ตนจ่ายไปให้สโมสรทั้งปี เช่นนาย ก. ซื้อตั๋วเข้าชมฟุตบอลและสินค้าต่างๆ ของสโมสรทั้งปี เป็นเงิน 100,000 บาท ก็จะได้ ถัวเฉลี่ยคืนเป็นเงิน 10,000 บาท และเมื่อทางสโมสรหักรายจ่ายต่างๆ หมดแล้ว หากมีกำไร ก็จ่ายคืนเป็นเงินปันผลให้กับสมาชิกตามราคาหุ้น

สหกรณ์ในประเทศไทยมีทั้งหมด 6 ประเภท ถ้าเราต้องการจะเป็นนิติบุคคลเราก็สามารถไปจะทะเบียนเป็นสหกรณ์รูปแบบต่างๆ ได้ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด หากเราไม่ต้องการจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเราก็จะใช้คำว่าสหการแทนก็ได้ แต่ถ้าชื่อสหการมันไม่เหมาะกับชื่อสโมสรฟุตบอล เราก็สามารถดำเนินการแบบห้างหุ้นส่วนธรรมดาที่มีกฎข้อระเบียบแบบสหกรณ์ก็ได้

แต่ในความคิดของผมน่าจะเป็นในรูปแบบของ สหกรณ์การค้าแฟนคลับสโมสรฟุตบอลอาชีพ(ชื่อจังหวัด) โดยเราไปจ้างทีมสโมสรฟุตบอลอาชีพ(ชื่อจังหวัด) ไปแข่งขันในนามจังหวัด (ไม่รู้ว่าที่ผมพูดงงหรือป่าวนี้)

ขั้นตอนในการดำเนินงาน ผมคิดว่าที่ยากที่สุดคงเป็นขั้นตอน 10 คนแรก ที่จะดำเนินงาน และสโมสรแรกที่จะเริ่มทำ ถ้าหากปีแรกผ่านไปได้ดี ปีที่ 2 คงมีทีมสโมสรฟุตบอลที่เกาะกระแสทำตามอีกเพียบหลายทีม
...............
สานฝันบอลลำปาง

ศุกร์ 26
มิถุนา 52

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น