>>>Lampang Soccer : ความเคลื่อนไหววงการฟุตบอลลำปาง<<< จุดเริ่มต้นของชุมชนฟุตบอลลำปาง ข่าวสารในแวดวง ทางฝันสู่ไทยพรีเมียร์ลีก ติดตามได้ที่นี่ +++ รักลำปาง...ดูบอลลำปาง : สานฝันสู่ไทยพรีเมียร์ลีก +++>>>แชมป์ล่าสุดในลำปาง<<< ฟุตซอล เทศบาลนครลำปาง ประจำปี 2552 ทีมชนะเลิศ รุ่นอาุยุไม่เกิน 18 ปี ได้แก่ ทีมมะพร้าวหวาน B นักกีฬาดีเด่นคือ นายภานุพงศ์ กิวงค์พรม รุ่นประชาชนชายทั่วไป (อายุ 40 ปีขึ้นไป) ได้แก่ ทีมพรานเหนือ รุ่นประชาชนชายทั่วไป ได้แก่ทีม มะพร้าวหวาน C นักกีฬาดีเด่นคือ นายณัฐภัทร ไชยจักร จากทีมมะพร้าวหวาน+++ฟุตบอล 11 คน เทศบาลนครลำปาง ประจำปี 2552 (15 มีนา-3 พฤษภา 52) ทีมชนะเลิศ รุ่นอาุยุไม่เกิน 18 ปี ได้แก่ ทีมโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย นักกีฬาดีเด่นได้แก่ นายพงศกร ยาลังกา จากทีมโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย รุ่นประชาชนชายทั่วไป (อายุ 40 ปีขึ้นไป) ได้แก่ ทีมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ นักกีฬาดีเด่นคือ นายสมชาย ติวะตันสกุล จากทีมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ รุ่นประชาชนชายทั่วไป ได้แก่ ทีมชมรมกีฬารถไฟนครลำปาง นักกีฬาดีเด่นได้แก่ นายอาุภาพ จรเทศ จาก ทีมชมรมกีฬารถไฟนครลำปาง Lampang Soccer

คุย+แลกเปลี่ยน+แจ้งข่าววงการฟุตบอลลำปางได้ที่นี่

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

2 นักเรียนกีฬาลำปาง ถูกเรียกติดทีมชาติบอลหญิง U16


ภาพการแข่งขันฟุตบอลหญิงในกีฬานครลำปางเกมส์ ปี 2549
ที่มา : http://gms.sat.or.th/nakornlampanggames/album1.asp?clickid=528&f_search=87&compid=&pageno=9


สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ทำจดหมาย ขออนุญาตให้นักกีฬาจากโรงเรียนจังหวัดกีฬาลำปางเข้าร่วมเก็บตัวฝึกซ้อมเตรียมทีมฟุตบอลเยาวชนหญิงอายุ 16 ปี ทีมชาติไทย เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนหญิงอายุ 16 ปี แห่งอาเซียน (AFF U16 Women's Championship 2009 ) ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม - 18 ตุลาคม 2552 ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า และฟุตบอลเยาวชนหญิงอาุยุ 16 ปี แห่งเอเซียรอบสุดท้าย (AFC U16 Women's Championship 2009) ระหว่างวันที่ 4 พฤจิกายน-15 พฤศจิกายน 2552 ณ กรุงเทพมหานคร

ซึ่งทางสมาคมฯได้ทำการคัดเลือก 2 นักฟุตบอลได้แก่
1. นางสาวกัญยาณี วันต๊ะ
2.นางสาวกิตติยาพร ไชยเสน
เพื่อร่วมเก็บตัวฝึึกซ้อม เตรียมทีมแข่งขัน

ข่าวอย่างนี้ ต้องบอกกันต่อๆไปครับ
.............................
ที่มาข้อมูล :
ผอ.กอบกิจ ธรรมานุกูล
ผู้อำนวยการโรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง

จากหนังสือสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ที่ ฟ.346/2552 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2552

.............................
สานฝันบอลลำปาง
อังคาร 30
มิถุนา 52

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข่าวฟุตบอลลำปาง : “สุนี” เผยรอบสอง ฟุตซอล อบจ.ลำปางโอเพ่นครั้งที่ 1



บรรยากาศการแข่งขันในรอบแรก
ภาพจาก http://www.lp-pao.go.th/information/view.php?id_view=204


“สุนี” เผยรอบสอง ฟุตซอล อบจ.ลำปางโอเพ่นครั้งที่ 1
http://www.lp-pao.go.th/information/view.php?id_view=204

นางสุนี สมมี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่าตามที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางร่วมกับสมาคมกีฬาจังหวัด ลำปาง จัดการแข่งขันฟุตซอล อบจ.ลำปางโอเพ่น ครั้งที่ 1ประจำปี 2552 โดยนายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางได้ทำพิธีเปิดการแข่งขันเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ณ สนามศูนย์กีฬา กรมสามัญศึกษา โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันรวมทั้งสิ้น 105 ทีม แบ่งเป็นรุ่นยุวชนชายอายุไม่เกิน 15 ปี จำนวน 18 ทีม รุ่นเยาวชนชายอายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน 18 ทีม และรุ่นประชาชนชายทั่วไป จำนวน 69 ทีม โดยในระหว่างวันที่ 16 – 21 มิถุนายน 2552 เป็นการแข่งขันรอบแรก

ส่วน ในระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน – 12 กรกฎาคม 2552 เป็นการแข่งขันในรอบที่สองถึงรอบชิงชนะเลิศ โดยรุ่นยุวชนชายอายุไม่เกิน 15 ปี จำนวน 12 ทีม รุ่นเยาวชนชายอายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน 12 ทีม และรุ่นประชาชนชายทั่วไป จำนวน 46 ทีม และจะทำการขับเคี่ยวชิงที่ 3 ในวันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม 2552 และชิงชนะเลิศทุกรุ่นในวันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม 2552 ณ สนามศูนย์กีฬาล้านนา (ยิม) 1000 ที่นั่ง สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง

ผู้ ที่ สนใจในกีฬาฟุตซอลสามารถชมการแข่งขันได้โดยในวันธรรมดา(จันทร์-ศุกร์)ตั้งแต่ เวลา17.00–23.00 น. ส่วนวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 -20.00 น. ณ สนามศูนย์กีฬาล้านนา (ยิม) 1000 ที่นั่ง สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบโปรแกรมและสายการแข่งขัน ฯ ได้ที่ www.lp-pao.go.th หรือสอบถามที่ กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง โทรศัพท์ 0 5422 6810-11 ต่อ 131 หรือ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักปลัด ฯ 0 5422 6069
........................
สานฝันบอลลำปาง

อาทิตย์ 28
มิถุนา 52

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

How to ตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพ5 : ระเบียบว่าด้วยคุณสมบัติสมาชิกและมาตรฐานการจัดการแข่งขัน


การแถลงข่าวในระดับไทยแลนด์ลีกดิวิชั่น1 ของทีมจันทบุรี
ที่มา : http://province.prd.go.th/chanthaburi/newsasp/aspboard_Question.asp?GID=1058


จาก เงื่อนไข/ข้อตกลง/ระเบียบ ของไทยพรีเมียร์ลีก http://www.thaipremierleague.co.th/template.php?name=home&op=regulations#

ระเบียบว่าด้วยคุณสมบัติของสมาชิกที่จะเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก
1. สโมสรฟุตบอลที่จะเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีกจะต้องจดทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย

2. เจ้าหน้าที่บริหารทีม และนักฟุตบอลของทีมจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการแข่ง ขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องคุณสมบัติของโค้ชว่าจะต้องมีใบประกาศนียบัตรระดับ A ของ “เอเอฟซี”

3. จะต้องจดทะเบียนธุรกิจเป็นนิติบุคคลเชิงพาณิชย์ภายใต้กฎหมายไทยที่เกี่ยว ข้อง โดยมีวัตถุประสงค์อย่างเป็นทางการที่จะรวมการแสวงหาผลกำไรเข้าไว้ด้วย

4. จะต้องส่งงบการเงินซึ่งประกอบด้วย งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบดุลที่ได้การรับรองจากผู้สอบบัญชีภายนอกที่มีใบอนุญาตกฎหมายไทย

5. จะต้องมีการบันทึกจำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันอย่างชัดเจนทุกแมตซ์ และประกาศให้ทราบทั่วกันทันทีที่ได้ทราบผลการบันทึก

6. สมาชิกจะต้องจัดให้มีโครงการพัฒนานักฟุตบอลระดับเยาวชนขึ้น และจัดตั้งทีมฟุตบอลเยาวชนขึ้นในองค์กรของสมาชิก หรือองค์กรที่มีภาคีร่วม หรือบริษัทย่อย

7. สมาชิกต้องจัดให้มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานสื่อมวลชน

8. ในการแข่งขันแต่ละแมตซ์ สมาชิกจะต้องจัดให้มีการลงทะเบียนสื่อมวลชน

9. สมาชิกจะต้องจัดให้มีสถานที่ทำงานและที่นั่ง เฉพาะสื่อมวลชนไว้ในสนามที่ใช้ในการแข่งขันทุกแมตซ์

10. สมาชิกจะต้องให้มีการแถลงข่าว ณ สนามแข่งขันทุกครั้งที่มีการแข่งขัน

11. ในการจัดการแข่งขันทุกแมตซ์ สมาชิกจะต้องจัดบริเวณที่เป็นกลาง เพื่อให้นักฟุตบอลสามารถพบปะสื่อมวลชนได้ (Mixed Zone)

ระเบียบว่าด้วยมาตรฐานการจัดการแข่งขัน
1. บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด จะจัดทำมาตรฐานการจัดการแข่งขันตามแนวทางที่กำหนดไว้ให้จากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และ เอเอฟซี มาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาวงการฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย โดยอาศัยหลักการ 10 ประการ ดังนี้คือ
1.1 เรื่องการบริหารจัดการแข่งขัน (Organization)
1.2 เรื่องมาตรฐานทางเทคนิค (Technical Standard)
1.3 เรื่องจำนวนผู้เข้าชม (Attendance)
1.4 เรื่องธรรมาภิบาล และการจัดการ (Governance and Soundness)
1.5 เรื่องการตลาด และการส่งเสริม (Marketing and Promotion)
1.6 เรื่องขนาดของธุรกิจ (Business Scale)
1.7 เรื่องการจัดการในวันแข่งขัน (Game Operation)
1.8 เรื่องสื่อมวลชนสัมพันธ์ (Media)
1.9 เรื่องมาตรฐานสนามที่ใช้แข่งขัน (Stadia)
1.10 เรื่องการบริหารจัดการของสโมสรสมาชิก (Clubs)
2. สำหรับรายละเอียดที่เป็นข้อกำหนดปลีกย่อยของหลักการ 10 ประการตามข้อ 1 ให้เป็นไปตามเอกสารผนวก ก. แนบท้ายของระเบียบนี้

3. ให้สโมสรสมาชิกทำบันทึกข้อตกลง (Club Licensing Agreement) กับ บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ว่าจะดำเนินการปฏิบัติตามเงื่อนไขของการมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ได้กำหนด ไว้ในเรื่องมาตรฐานคุณสมบัติ และมาตรฐานการจัดการแข่งขัน การละเว้นไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว อาจมีผลให้สโมสรสมาชิกถูกเพิกถอนสิทธิในการเข้าร่วมการแข่งขัน “ไทยพรีเมียร์ลีก” ได้
..........................
สานฝันบอลลำปาง

เสาร์ 27
มิถุนา 52

How to ตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพ4 : เงื่อนไขการสมัครเข้าแข่งขันฟุตบอลอาชีพรายการต่างๆของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย


สนามเหย้าของบางกอกกล๊าส
ที่มา : http://www.bangkokglassfc.com/Sanam.html


จาก เงื่อนไข/ข้อตกลง/ระเบียบ ของไทยพรีเมียร์ลีก http://www.thaipremierleague.co.th/template.php?name=home&op=regulations#

เงื่อนไขการสมัครเข้าแข่งขันฟุตบอลอาชีพรายการต่างๆของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย

1. สโมสรฟุตบอลจะต้องยื่นความจำนงจดทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคม และเมื่อได้รับการตอบรับเรียบร้อยแล้ว ให้นำหลักฐานต่างๆ มาแสดงต่อคณะกรรมการอำนวยการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก

2. สโมสรฟุตบอลจะต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนธุรกิจเป็นนิติบุคคลเชิงพาณิชย์ ภายใต้กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์อย่างเป็นทางการที่รวมการแสวงหาผลกำไรเข้าไว้ด้วย (ยกเว้นในกรณีที่ได้รับการผ่อนผันตามระเบียบของการแข่งขันที่ประกาศให้ทราบ ทั่วกันแล้ว)

3. สโมสรฟุตบอลที่ได้การรับตอบรับให้เข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขันประจำปี จะต้องส่งงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วย งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบดุล ที่ได้รับการรับรองจากผู้สอบบัญชีภายนอกที่มีใบอนุญาตตามกฎหมายไทย

4. สโมสรฟุตบอลจะต้องจัดให้มีสนามแข่งขัน เพื่อใช้เป็นสนามเหย้า โดยสภาพทั่วไปของสนามที่จะใช้ในการแข่งขันจะต้องมีมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
4.1 มีอัฒจันทร์ที่จุผู้ชมได้ไม่น้อยกว่า 5,000 คน และมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
4.2 มีห้องอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานต่างๆ เช่น
1. ห้องผู้ตัดสิน มีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 12 ตารางเมตร พร้อมห้องน้ำ
2. ห้องพักนักกีฬาพร้อมห้องน้ำ 2 ห้อง แต่ละห้องมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 60 ตารางเมตร
3. ห้องผู้สื่อข่าว
4. สถานที่ที่จัดไว้สำหรับการแถลงข่าวก่อน และหลังการแข่งขัน
5. สถานที่กลาง เพื่อให้นักกีฬาพบปะสื่อมวลชน และแฟนบอล

4.3 มีขนาดของสนามแข่งขันได้มาตรฐานของฟีฟ่า (FIFA) ผิวพื้นเรียบ และมีหญ้าปกคลุมสม่ำเสมอ ขอบเขตของสนามแข่งขันมีรายละเอียดดังนี้ คือ
ก. ขนาดของสนาม
1. ความยาว (เส้นระหว่างประตู) ไม่ต่ำกว่า 100 เมตร หรือ 110 หลา
ไม่เกินกว่า 110 เมตร หรือ 120 หลา

2. ความกว้าง (เส้นข้างถึงเส้นข้าง) ไม่ต่ำกว่า 64 เมตร หรือ 70 หลา
ไม่เกินกว่า 75 เมตร หรือ 80 หลา
ข. เส้นแสดงขอบเขต
1. เส้นแบ่งเขต (Line) ตีเส้นโดยมีความกว้างไม่เกิน 5 นิ้ว (12 เซนติเมตร)
2. เส้นประตู (Goal Line) 2 เส้น เป็นเส้นกำหนดความยาวของสนาม
3. เส้นข้าง (Touch Line) 2 เส้น เป็นเส้นกำหนดความกว้างของสนาม
4. เส้นแบ่งครึ่ง เป็นเส้นที่แบ่งครึ่งระหว่างเส้นประตู ตรงกลางเส้นมีวงกลม เส้นรัศมี 9.15 เมตร (10 หลา)
5. เสาประตู มี 2 ชุด แต่ละชุดตั้งอยู่บนเส้นประตูของแต่ละด้าน โดยจะตั้งอยู่บนกึ่งกลางของเส้นแบ่งเขต(Line) และกึ่งกลางของประตูตั้งอยู่บนกึ่งกลางระหว่างเส้นข้าง ประตูมีเสาข้าง 2 ต้น และเสาพาดบน 1 ต้น ความหนาของเสาทั้ง 3 ไม่เกิน 5 นิ้ว (12 เซนติเมตร) ความกว้างของประตูวัดจากขอบด้านในเสาต้นหนึ่งถึงขอบในเสาอีกต้นหนึ่งเท่ากับ 7.32 เมตร (8 หลา) ความสูงจากพื้นถึงด้านในของเสาพาดบน 2.44 เมตร (8 ฟุต)
6. เส้นบริเวณประตู ขอบ เขตถูกกำหนดโดยการใช้ 2 เส้น ลากตั้งฉากออกจากเส้นประตูเข้าไปในสนามลึก (ยาว) เส้นละ 5.5 เมตร (6 หลา) ส่วนความกว้าง (สำหรับเส้นตัดขนานกับเส้นประตู) ให้วัดจากเสาประตูสองข้าง ออกไปข้างละ 5.5 เมตร (6 หลา) เช่นเดียวกัน
7. เขตเส้นโทษ เป็น เส้นลากตั้งฉากกับเส้นประตูเข้าไปสนาม 2 เส้น ความลึกเส้นละ 16.5 เมตร (18 หลา) ความกว้าง (สำหรับเส้นตัดขนานกับเส้นประตู) วัดออกไปจากเสาประตูข้างละ 16.5 เมตร (18 หลา) จุดโทษจะอยู่ห่างจากเส้นประตู 11 เมตร (12 หลา) ครึ่งวงกลมบนเขตเส้นโทษให้ใช้รัศมีจากจุดโทษ 9.15 เมตร หรือ 10 หลา

หมายเหตุ (โปรดดูแผนผังประกอบ)

5. สโมสรฟุตบอลจะต้องจัดให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการทางด้านธุรกิจ การตลาด การบริหารจัดการแข่งขัน และมวลชนสัมพันธ์

6. สโมสรฟุตบอลมีเจ้าหน้าที่บริหารทีม โค้ช และนักกีฬา มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ (ไทยพรีเมียร์ลีก , ลีกดิวิชั่น 1 หรือลีกดิวิชั่น 2 – ลีกภูมิภาค แล้วแต่กรณี)

7. สโมสรฟุตบอลยินยอมให้เจ้าหน้าที่ หรือผู้แทนของสมาคมฟุตบอลฯ หรือผู้แทนของบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก ไปทำการตรวจสนามได้ตลอดเวลา
.................................
สานฝันบอลลำปาง

เสาร์ 27
มิถุนา 52

How to ตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพ3 : ข้อตกลงการออกใบอนุญาตให้กับสโมสรสมาชิก


MTUTD นิตยสารของทีมเมืองทองยูไนเต็ด สะท้อนถึงการจัดการที่เป็นมืออาชีพที่มีสื่อรองรับการทำทีมของตน
ที่มา : http://www.mtufc.com/album/mtu_bkutd_05_04_09/large/mtu_bkutd_06.jpg


พึ่งจะค้นเจอ เงื่อนไข/ข้อตกลง/ระเบียบ ของไทยพรีเมียร์ลีก http://www.thaipremierleague.co.th/template.php?name=home&op=regulations# ในด้านหนึ่งแล้วมันเป็นกฏระเบียบที่เคร่งครัด และในอีกด้านหนึ่งแล้วเป็นการพยายามสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือระบบการอำนวยความสะดวกในการทำข่าว และการเก็บข้อมูลเชิงสถิติอันเป็นสิ่งที่วงการฟุตบอล และวงการอื่นๆยังให้ความสำคัญไม่มากนัก ลองอ่านดูกันครับ

ข้อตกลงการออกใบอนุญาตให้กับสโมสรสมาชิก
เพื่อการเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลอาชีพไทยพรีเมียร์ลีก
Club Licensing Agreement

1. ผู้ยื่นขอใบอนุญาตฯ ต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่รับผิดชอบการบริหารจัดการสโมสรฟุตบอลโดยที่
1.1 เป็นสโมสรสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
1.2 เข้าร่วมการแข่งขันระดับภายในประเทศของสมาคมฟุตบอลฯ ในปีที่ผ่านมา

2. ผู้ยื่นขอใบอนญาตต้องรับรองว่า
2.1 ผู้เล่นทั้งหมดได้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมฟุตบอลฯ
2.2 ผู้เล่นระดับอาชีพทุกคนมีการทำสัญญาว่าจ้างกับสโมสร
2.3 การจ่ายค่าตอบแทนนักกีฬาและรายรับค่าผ่านประตูต้องอยู่ในบัญชีการรับจ่ายของสโมสร
2.4 ผู้ออกใบอนุญาตจะได้รับข้อมูลทุกอย่างที่ต้องการจากผู้ได้รับใบอนุญาต

3. ผู้ยื่นขอใบอนุญาต
3.1 ตั้งทีมอยู่ในเขต(ภูมิศาสตร์)ตามที่สมาคมเป็นผู้กำหนดและรับรอง(หากมีข้อยกเว้น)
3.2 เป็นผู้ที่มีสิทธิ์ในการใช้ชื่อและตราสโมสร
3.3 ปลอดจากการแทรกแซงจากหุ้นส่วนทางธุรกิจ หรือสปอนเซอร์

4. สโมสรสมาชิกจะได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในกรณีดังนี้
4.1 มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ในระเบียบของผู้จัดการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเชิงพาณิชย์ และ
4.2 มีคุณสมบัติจากผลของการแข่งขันในฤดูกาลก่อนหน้า

5. ใบอนุญาตฯ อาจถูกยกเลิก หรือถอนได้เมื่อ
5.1 เมื่อมีการยุบสโมสร
5.2 เมื่อสโมสรสมาชิกไม่สามารถรักษาคุณสมบัติตามข้อกำหนด
5.3 เมื่อสโมสรสมาชิกผู้ได้รับสิทธิ์ฝ่าฝืนข้อกำหนดพันธะผูกพันตามระเบียบ
5.4 ใบอนุญาตฯไม่สามารถโอนให้องค์กรหรือบุคคลอื่นได้

6. ผู้ยื่นขอใบอนุญาตสัญญาว่าจะดำเนินการตามหลักเกณฑ์สำคัญ 5 ประการ ต่อไปนี้ คือ
6.1 หลักเกณฑ์ด้านกีฬา
1) มีการลงทุนในโปรแกรมการพัฒนาเยาวชนที่มีคุณภาพ
2) สนับสนุนให้นักเตะเยาวชนได้รับการศึกษาด้านการกีฬาฟุตบอลและนอกเหนือจากกีฬาฟุตบอล
3) ดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลนักเตะเยาวชนอย่างดี
4) เน้นให้นักกีฬามีความประพฤติเหมาะสม ทั้งในและนอกสนาม

6.2 หลักเกณฑ์ด้านโครงสร้าง
1) มีสนามแข่งขันที่ได้รับการตรวจและอนุมัติให้ใช้ มีความสะดวกสบาย และปลอดภัย
2) มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ชม
3) มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับสื่อมวลชน
4) มีสนามฝึกซ้อมที่ดีเพียงพอ

6.3 หลักเกณฑ์ด้านบุคลากรและการบริหาร
1) บริหารองค์กรของตนเองอย่างมืออาชีพ
2) มีการจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติและทักษะที่เหมาะสมมาบริหารงานด้านต่างๆ
3) ใช้ผู้ฝึกสอนที่มีวุฒิบัตรรับรองจาก เอเอฟซี
4) มีการสนับสนุนด้านสวัสดิการการรักษาพยาบาลตามสมควร โดยจัดให้มี
1.เลขานุการสโมสรมีที่ทำการ และมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร
2. มีผู้จัดการทั่วไป
3. มีเจ้าหน้าที่การเงิน
4. มีเจ้าหน้าที่ประสานงานความปลอดภัย
5. มีแพทย์และเจ้าหน้าที่ดูแลกายภาพประจำสโมสร
6. หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชุดใหญ่ที่มีวุฒิบัตรที่ได้รับการรับรองตามประกาศของ สมาคมฟุตบอล แห่งประเทศไทย
7. หัวหน้าผู้ฝึกสอนโครงการพัฒนาเยาวชนที่มีวุฒิที่ได้รับการรับรอง
8. มีผู้ฝึกสอนทีมเยาวชน
9. มีผู้ประสานงานการรักษาความปลอดภัยที่มีความสามารถหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ให้แจ้งให้บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ทราบ


6.4 หลักเกณฑ์ด้านกฏหมาย
* มีการกำหนดหลักเกณฑ์และข้อบังคับขั้นพื้นฐานตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
* มี ระบบธรรมาภิบาล ปกป้องความสง่างาม เกียรติยศ และศักดิ์ศรีของสโมสรสมาชิก และการแข่งขัน ยินยอมให้ฟีฟ่า หรือสหพันธ์เอเอฟซี หรือสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และ/หรือ บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด สามารถเข้าแทรกแซงได้หากทราบว่าบุคคลใด หรือองค์กรใดเป็นเจ้าของ หรือควบคุมสโมสรมากกว่าหนึ่งสโมสรในการแข่งขันรายการเดียวกัน
* ยอม รับและปฏิบัติตามธรรมนูญ กฏ ระเบียบ และการตัดสินใจของฟีฟ่า สหพันธ์เอเอฟซี สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด
* ยอม รับในบทบาทของอนุญาโตตุลาการสำหรับการกีฬา (Court of Arbitration for sports) ที่มีหน้าที่ไกล่เกลี่ย กรณีพิพาททางการกีฬา โดยไม่ต้องนำเรื่องไปฟ้องศาล
* เข้าร่วมการแข่งขันของสหพันธ์เอเอฟซีในระดับทวีป
* เคารพและปฏิบัติตามระเบียบการออกใบอนุญาตฯ ที่ออกให้สโมสรสมาชิก
* ยื่น/ส่งเอกสารให้ถูกต้องและครบถ้วนตามที่ได้รับการร้องขอ

6.5 หลักเกณฑ์ด้านการเงิน
1) ปรับปรุงประสิทธิภาพและความสามารถในการบริหารจัดการทางธุรกิจและทางการเงิน
2) เพิ่มความโปร่งใสด้านการเงินและความน่าเชื่อถือของสโมสร
3) ดูแลรักษาสิทธิ์เจ้าหนี้
.................................
สานฝันบอลลำปาง

เสาร์ 27
มิถุนา 52

How to ตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพ2 : ว่าด้วยนิติบุคคล


ร้านค้าของสโมสรเมืองทองยูไนเต็ด
ที่มา :
http://www.mtufc.com/album/mtu_bkutd_05_04_09/large/mtu_bkutd_05.jpg

การตั้งทีมสโมสรฟุตบอลอาชีพนั้นสุดท้ายแล้วก็จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยเฉพาะเมื่อเอเอฟซีบังคับว่าต้องเป็นนิติบุคคลเชิงพาณิชย์เท่านั้น ทำให้การจดทะเบียนนิติบุคคลแบบไม่แสวงกำไรเช่น สมาคม หรือสโมสร มีปัญหาขึ้นมาทันที ครั้งนี้เลยยกบทความของอาจารย์หนุ่ยเจ้าเก่ามาแปะครับ

จากกระทู้
เจแปนช่วยที ทีมโคราชดันจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว
http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=5991.0;wap2
โดย อาจารย์หนุ่ย

ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า "นิติบุคคล" ก่อนนะครับ นิติบุคคลไม่ได้แปลว่า บริษัท แต่อย่างใด นิติบุคคล คือ คน คนหนึ่ง ที่กฎหมายสมมติขึ้นว่ามีตัวตน และต้องรับผิดในกฎหมายแพ่ง นั้นคือ โทษของนิติบุคคล ได้แก่ ชดใช้ค่าเสียหาย และล้มละลายครับ

ขอยกตัวอย่างง่ายๆ นะครับ สโมสรฟุตบอลนครราชสีมา จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หมายถึงว่า ได้เกิดมี คุณสโมสรฟุตนครราชสีมา มีตัวตนขึ้นมาทางกฎหมายแพ่ง มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนครราชสีมา คุณสโมสรนครราชสีมา สามารถมีทรัพย์สินได้ ทำสัญญากับบุคคลทั่วไปได้ เมื่อพนักงานทำผิด คุณสโมสรนครราชสีมามีหน้าที่ จ่ายค่าเสียหาย จนถึงโทษหนักที่สุดคือล้มละลาย ดังนั้นความน่าเชื่อถือของนิติบุคคลมีมากกว่าบุคคลธรรมดาเช่นเราๆ ท่านๆ ครับ

นิติบุคลมีหลายประเภทครับ และบริหารงานแตกต่างกันไป มีทั้งนิติบุคคลที่ตั้งมาเพื่อหวังกำไรตอบแทน เช่น บริษัท หจก. นิติบุคคลที่ไม่หวังผลกำไร เช่น มูลนิธิ สมาคม นิติบุคคลที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่น กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์ วัด มหาวิทยาลัย เป็นต้น

การจะจดทะเบียนให้สโมสรฟุตบอลเป็นนิติบุคคล จะจดในรูปแบบไหนก็ได้ เช่น มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ หรือบริษัท บีอีซี เทโร จำกัด เป็นต้น แต่รูปแบบของสโมสรฟุตบอลอาชีพในต่างประเทศ เขาจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ในรูปแบบของ บริษัท จำกัดครับ และเป็นบริษัท มหาชน จำกัด เพื่อเข้าตลาดหุ้นด้วย เมื่อสโมสรฟุตบอลมีกำไรคนทั่วไปก็ต้องการอยากจะซื้อหุ้นเพื่อเป็นเจ้าของสโมสร ทำให้สโมสรมีเงินทุนในการจ้างนักฟุตบอล แต่ถ้าสโมสรฟุตบอลใดขาดทุน ผู้บริหารก็จะขายสโมรเพื่อให้คนอื่นเข้ามาเทคโอเวอร์ต่อไป

สำหรับ ประเทศไทย ที่ประกาศว่าจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่จะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบไหน ต้องรอดูกันอีกครั้งครับ ถ้าจดเป็นนิติบุคคลในรูปแบบของ สมาคม เช่นสมาคมกีฬาจังหวัด มันก็คือ นิติบุคลที่บริหารงานในรูปแบบของสมาคม ที่มีรายได้หลักจากการบริจาคหรือสปอนเซ่อร์ หรือจดทะเบียนในรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ ที่มีรัฐบาลคอยช่วยพยุง และผูกขาด ไม่ให้มีคู่แข่ง แฟนบอลคงไม่มีสิทธิ์เลือก เหมือนการไฟฟ้า การประปาในปัจจุบัน แต่ถ้าจดทะเบียนในรูปแบบ บริษัท จำกัด คงต้องมีการบริหารแบบมีอาชีพเกิดขึ้น เพราะกฎหมายไทยบัญญัติไว้ว่า เมื่อบริษัท มีกำไรจะต้องจ่ายภาษีเงินได้ ร้อยละ 30 ของเงินกำไร ถ้าบริษัทขาดทุน 5 ปีติดต่อกันต้องยุบบริษัท

เพียงเท่านี้ก็คงจะรู้คำตอบว่าฟุตบอลอาชีพจะเกิดในประเทศไทยได้หรือไม่
.....................
สานฝันบอลลำปาง

เสาร์ 27
มิถุนา 52

How to ตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพ1 : รูปแบบสหกรณ์


เบื้องหน้าที่สดใส ล้วนมีเบื้องหลังที่ยากลำบาก
ที่มาภาพ : http://www.chonburifc.net/webboards/view.php?qID=241


ว่าด้วยการจัดตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพนั้น ดูแล้วมีหลายทางเลือก ที่อาจารย์หนุ่ยเสนอมาการใช้ระบบสหกรณ์ มันทำให้ผมนึกถึงตอนเป็นสมาชิกสหการตอนสมัยประถมเลย ซื้อหุ้นเยอะเท่าไหร่ ก็ได้ปันผลเยอะเท่าันั้น แล้วมันก็จูงใจให้เราไปซื้อของที่สินค้าสหการอีกด้วย แล้วเรื่องนี้ถ้าเป็นสมาคมฟุตบอลบ้างเล่า จะน่าตื่นเต้นขนาดไหน

จดทะเบียนฟุตบอลแบบสหกรณ์


โดยอาจารย์หนุ่ย
ที่มา http://www.mahasarakhamcity.com/webboard/lofiversion/index.php/t51.html (12 พฤษภาคม 52)

สโมสรฟุตบอลอาชีพทั่วโลก เขาจะบริหารงานในรูปแบบของบริษัท จำกัด ครับ แต่ถ้าต้องการจะบริหารงาน
ในรูปแบบของสหกรณ์ (ซึ่งเป็นนิติบุคคล) ก็ได้เหมือนกัน และเข้ากับบรรยากาศฟุตบอลลีกของเมืองไทยในยุคเริ่มต้นด้วยครับ วิธีสร้างสโมสรฟุคบอลอาชีพในแนวทางแบบสหกรณ์ เป็นบทความที่ผมเขียนไว้นานแล้ว จะนำมาให้อ่านอีกรอบครับ

วิธีสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบแนวทางสหกรณ์

เมื่อพูดถึงคำว่าสหกรณ์ทุกคนจะเข้าใจไปว่า จะต้องประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเกษตรเท่านั้นถึงจะก่อตั้งสหกรณ์ได้ เพราะเราเคยชินกับคำว่า

สหกรณ์การเกษตรจนชินหู แต่รูปแบบ วิธีทำและการดำเนินงานของสหกรณ์ เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพได้

เนื่องจากผลการดำเนินการของสหกรณ์ (เทียบได้กับสโมสรฟุตบอล) ขึ้นอยู่กับการใช้บริการของสมาชิก (แฟนคลับของสโมสรฟุตบอล)

โอกาสจะขาดทุนหรือล้มละลาย จึงเกิดขึ้นได้ยากมาก และจะถูกนายทุนเงินหนามาเทคโอเวอร์เหมือนบริษัทก็เป็นไปไม่ได้ เพราะถูกจำกัดสิทธิ์ในการถือหุ้นตามกฎหมาย ระบบสหกรณ์ผู้ถือหุ้นจะไม่ร่ำรวยเหมือนการถือหุ้นของบริษัท แต่สหกรณ์เองสามารถดำเนินการให้เกิดเงินกำไรมาจ่ายปันผลให้สมาชิกทุกปีเหมือนกับบริษัท

ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยจะมีสหกรณ์อยู่ทั้งหมด 6 ประเภท คือ
1. สหกรณ์การเกษตร
2. สหกรณ์นิคม
3. สหกรณ์ประมง
4. สหกรณ์ร้านค้า
5. สหกรณ์ออมทรัพย์
6. สหกรณ์บริการ

ผมขออธิบายรูปแบบของสหกรณ์ให้ฟังคร่าวๆ ก่อนนะครับ ก่อนจะมาปรับเข้ากับวิธีการสร้างสโมสรฟุตบอลอาชีพ ในรูปแบบของสหกรณ์ต่อไป

การเริ่มก่อตั้งสหกรณ์ จะต้องมีบุคคลไม่น้อยกว่า 10 คนขึ้นไป รวมกลุ่มกันเปิดรับสมาชิกโดยการขายหุ้นสหกรณ์ให้กับสมาชิกทุกคน ตาม

หลักกฎหมายแล้ว สมาชิกแต่ละคนจะถือหุ้นสหกรณ์ได้ไม่เกิน 5% ของราคาหุ้นทั้งหมด (จึงไม่มีสิทธิ์เทคโอเวอร์) เมื่อเปิดรับสมาชิกและขายหุ้นได้จนครบตามวัตถุประสงค์แล้ว (เรายังสามารถขายหุ้นสหกรณ์ให้สมาชิกใหม่ได้เรื่อยๆ) ผู้ก่อตั้งจำนวน 10 คนก็จัดประชุมสมาชิกผู้ถือหุ้นทั้งหมดเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของสหกรณ์ มีอายุดำเนินงานกี่ปีก็ว่าไป

กรรมการผู้ดำเนินงานของสหกรณ์ จะไปจ้างผู้บริหารมืออาชีพมาดำเนินงานแทนกลุ่มตนก็ได้ โดยที่ตนมีหน้าที่ตรวจสอบ สมาชิกของสหกรณ์ทุกคนมีหน้าที่มาใช้บริการของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ของตนก่อให้เกิดมีรายได้ขึ้นมา เมื่อสหกรณ์ดำเนินงานมาจนครบปีหรือสิ้นสุดระยะบัญชี

บรรดาสมาชิกทุกคนก็จะได้รับเงินถัวเฉลี่ยคืนคนละ 10% ของยอดที่ตนเองไปใช้บริการทั้งปี เช่น ตนเองไปใช้บริการสหกรณ์ทั้งปี เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 บาท ก็จะได้เงินคืน 10,000 บาท เป็นต้น (ข้อนี้บริษัทห้างร้านไม่มี) และเมื่อสหกรณ์หักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว ถ้าสหกรณ์มีกำไรในปีนั้น ก็จะจ่ายเป็นเงินปันผลคืนให้สมาชิกตามจำนวนหุ้นที่ตนเองซื้อเอาไว้

คราวนี้เรามาดูแนวทางในการทำสโมสรฟุตบอลอาชีพแบบการจัดตั้งสหกรณ์ดูบ้าง

เริ่มจากผู้ริเริ่มจำนวน 10 คน จะเป็นคณะผู้ทำทีมฟุตบอลในตอนนี้หรือจะเป็นแฟนคลับก็ได้ ร่วมกันร่างระเบียบข้อบังคับและกำหนดราคาหุ้นผมคิดว่าราคาหุ้นน่าจะอยู่ระหว่าง หุ้นละ 100 – 1,000 บาท ถ้าได้ราคา ประมาณ 500 บาท น่าจะดี เพราะนักเรียนนักศึกษา

พอจะมีสิทธิ์ซื้อกันได้ การขายหุ้นใช้วิธีแบบแชร์ลูกโซ่ ให้สมาชิกคนหนึ่งหาสมาชิกใหม่มาซื้อหุ้นเพิ่ม 5 – 10 คน หรือประกาศข่าว เชิญชวนในขณะที่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลในสนามก็ได้ โดยการแจกโปว์ชัว หรือนัดประชุมผู้สนใจเป็นกลุ่มๆ เมื่อได้สมาชิกหรือแฟนคลับตามจำนวนที่ต้องการแล้ว

หากได้ประมาณ 1,000 คน ขึ้นไปสโมสรฟุตบอลไม่มีโอกาสล้มละลาย (ควรมีสิทธิ์ถือได้คนละหุ้นเพื่อตัดปัญหาเรื่องคะแนนเสียง) จำหน่ายหุ้นละ 500 บาท จะได้เงินเตรียมทีมขั้นต้น 500,000 บาท

สมาชิกของสโมสรที่ถือหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุมกันเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการขึ้นมาบริหารงานสโมสรฟุตบอล จำนวน 9 –15 คนแล้วแต่ความเหมาะสม
วิธีการเลือกตั้งคือ ให้สมาชิกผู้ถือหุ้นทุกคน เสนอตนเองหรือบุคคลอื่นเสนอชื่อขึ้นมาเป็นคณะกรรมการผู้บริหารสโมสร พร้อมกับแถลงนโยบายในการทำทีมของตน ให้สมาชิกทุกคนทราบ

ให้คนที่ได้รับเลือกคะแนนสูงสุดเรียงลำดับลงมาเรื่อยๆ จนครบจำนวนคณะกรรมการบริหารสโมสร เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง ให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งทำการจัดสรรตำแหน่งกันเองโดยวิธีการโหวตเสียงส่วนมาก ตั้งแต่ตำแหน่งประธานฯ ไปจนครบทุกตำแหน่ง และให้อยู่ในตำแหน่งได้สมาชิกทุกคนมีสิทธิ์เลือกกรรมการผู้บริหารสโมสรได้เพียง 1 คนเท่านั้นโดยการลงคะแนนแบบลับเพียงปีเดียว เท่านั้น โดยให้หมดวาระลงเมื่อหมดฤดูกาลแข่งขันในแต่ละปี แต่มีสิทธิ์ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาใหม่ได้อีกครั้ง

เพื่อไม่ให้มีการซื้อเสียงเกิดขึ้นให้สมาชิกที่มีสิทธิ์เลือกตั้งลงชื่อนามสกุล และหมายเลขสมาชิกไว้ในบัตรเลือกตั้งนั้นด้วย

คณะกรรมการบริหารสโมสร มีหน้าที่ทำสัญญาจ้างผู้ฝึกสอน และนักฟุตบอลทุกคน และจะทำการจ้างผู้บริหารมืออาชีพ เพื่อดำเนินการในการในเรื่องการหารายได้เข้าสโมสรก็ได้ สมาชิกสโมสรฟุตบอลผู้ถือหุ้นทุกคน(แฟนคลับ) มีหน้าที่ใช้บริการต่างๆ ของสโมสรเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับสโมสร เช่น ซื้อตั๋วเข้าชมการแข่งขัน ซื้อสินค้าจากร้านที่สโมสรเปิดให้บริการ และร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ทางสโมสรจัดขึ้น

เมื่อสิ้นปีหรือจบฤดูกาลแข่งขัน สโมสรจะถัวเฉลี่ยคืนจำนวนเงินที่สมาชิกแต่ละคนมาใช้บริการทั้งปี จำนวน 10% ของยอดรายได้ที่ตนจ่ายไปให้สโมสรทั้งปี เช่นนาย ก. ซื้อตั๋วเข้าชมฟุตบอลและสินค้าต่างๆ ของสโมสรทั้งปี เป็นเงิน 100,000 บาท ก็จะได้ ถัวเฉลี่ยคืนเป็นเงิน 10,000 บาท และเมื่อทางสโมสรหักรายจ่ายต่างๆ หมดแล้ว หากมีกำไร ก็จ่ายคืนเป็นเงินปันผลให้กับสมาชิกตามราคาหุ้น

สหกรณ์ในประเทศไทยมีทั้งหมด 6 ประเภท ถ้าเราต้องการจะเป็นนิติบุคคลเราก็สามารถไปจะทะเบียนเป็นสหกรณ์รูปแบบต่างๆ ได้ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด หากเราไม่ต้องการจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเราก็จะใช้คำว่าสหการแทนก็ได้ แต่ถ้าชื่อสหการมันไม่เหมาะกับชื่อสโมสรฟุตบอล เราก็สามารถดำเนินการแบบห้างหุ้นส่วนธรรมดาที่มีกฎข้อระเบียบแบบสหกรณ์ก็ได้

แต่ในความคิดของผมน่าจะเป็นในรูปแบบของ สหกรณ์การค้าแฟนคลับสโมสรฟุตบอลอาชีพ(ชื่อจังหวัด) โดยเราไปจ้างทีมสโมสรฟุตบอลอาชีพ(ชื่อจังหวัด) ไปแข่งขันในนามจังหวัด (ไม่รู้ว่าที่ผมพูดงงหรือป่าวนี้)

ขั้นตอนในการดำเนินงาน ผมคิดว่าที่ยากที่สุดคงเป็นขั้นตอน 10 คนแรก ที่จะดำเนินงาน และสโมสรแรกที่จะเริ่มทำ ถ้าหากปีแรกผ่านไปได้ดี ปีที่ 2 คงมีทีมสโมสรฟุตบอลที่เกาะกระแสทำตามอีกเพียบหลายทีม
...............
สานฝันบอลลำปาง

ศุกร์ 26
มิถุนา 52

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กรณีศึกษา 2 : เจียงฮาย เตะ10 ชนะ10 ชนะรวด 100 เปอร์เซ็นต์


โฉมหน้าทีมเชียงราย กับชุดนักเตะที่มีดีไซน์


แฟนคลับที่ขนานนามตัวเองว่า Orange Power



โลโก้ทีม เลือกใช้ตรากว่าง ด้านหลังเป็นรูปตุงสีส้ม


ทีมเชียงรายที่เป็นทีมในระดับดิวิชั่น 2 ได้สร้างผลงานอันยอดเียี่ยมที่คว้าชัยชนะรวดทั้งเหย้าและเยือน 10 นัด ผลงานอันน่าทึ่งนี้ อาจจะทำให้เป็นที่สนใจของสื่อมวลชน ขนาดที่ว่าสยามกีฬามาทำข่าวสัมภาษณ์อย่างเป็นเรื่องเป็นราวในวันที่ 24 มิถุนาที่ผ่านมา http://forums.212cafe.com/cufc/board-1/topic-640.html

ทีมเชียงรายมีความโดดเด่นอยู่ที่นักเตะ และการมีส่วนร่วมเชียร์ของแฟนคลับ ทีมเชียงรายได้ทำการบ้านเป็นอย่างดีในการสร้างระบบไหลเวียนข้อมูลความเคลื่อนไหว บรรยากาศการแข่งขัน ในเว็บไซต์ http://www.chiangraiunited.com การสร้างบรรยากาศเช่นนี้จึงทำให้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของแฟนๆ ที่เป็นชุมชนย่อยๆเลยทีเดียว ผลงานอันเริดหรูของนักเตะเชียงราย ก็ยิ่งทำให้กองเชียร์มีความฮึกเหิม และหากยังรักษาฟอร์มอย่างคงเส้นคงวา ทีมเีชียงรายคงคว้าตั๋วไปเล่นดิวิชั่น 1 ได้โดยไม่ยากนัก

การเตะระบบลีกที่มีระบบทีมเหย้า-ทีมเยือน ในการเริ่มต้นแม้จะสร้างความลำบากในการเดินทาง แม้จะไปเตะไกลถึงกำแพงเพชร แต่ด้วยสปิริตของแฟนคลับ ก็ยังมีการเหมารถตู้ไปดูกัน ดูความมุ่งมั่นของกองเชียร์ได้ที่นี่ http://forums.212cafe.com/cufc/board-1/topic-615.html

อีกจุดที่น่าสนใจก็คือ การใช้ความสามารถในการออกแบบเพื่อสร้างอัตลักษณ์ความเป็นทีมเชียงราย จะเห็นว่าเชียงรายได้ใช้ "กว่าง" เป็นตัวแทนของจังหวัด ซึ่งมีนัยยะของความเป็นนักสู้ ผนวกเข้ากับการใช้สีและรูปร่างที่ลงตัว

แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีแฟนบอลที่เข้มแข็ง แต่ในการแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ดก็ยังเห็นว่ายังไม่กระจายวงกว้าง เนื่องจากมีการเสนอให้ติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้ทั่วเมืองอยู่ http://forums.212cafe.com/cufc/board-1/topic-638.html

สโมสรฟุตบอลลำปางหากจะเกิดขึ้น จำจะต้องเรียนรู้ทั้งการก่อตั้งทีม สร้างทีมที่แข็งแกร่ง และระบบแฟนคลับที่เหนียวแน่น ซึ่งต้องการความร่วมมือมหาศาล เพราะในที่สุดแล้วสโมสรจะเป็นพื้นที่ร่วมกันของคนลำปางที่จะสร้างอัตลักษณ์ตัวตนใหม่ขึ้นมาให้มีที่ยืนในพื้นที่ประเทศไทย

สานฝันบอลลำปาง
พฤหัส 25
มิถุนา 52

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เก็บมาฝากจาก J-League: วิสัยทัศน์ใน 100 ปี!!!



ไปเจอในหน้าเว็บของ J-League เลยลองแปลแบบงูๆ ปลาๆมาให้อ่านกัน ดูักันเถิดว่าญี่ปุ่นเค้าคิดระยะยาวกันแค่ไหน

A Future Worth Building, Though it Takes 100 Years THE ONE HUNDRED YEAR VISION
http://www.j-league.or.jp/eng/100year/

การสร้างอนาคตอันทรงคุณค่า แม้ว่าจะใช้เวลาถึง 100 ปี "วิสัยทัศน์ใน 100 ปี"

"วิสัยทัศน์ใน 100 ปี" คือ
-การสร้างพื้นที่สีเขียว และพื้นที่ทางกีฬาสำหรับเมืองของ "พวกคุณ"
-การสร้างสโมสรกีฬาที่ "พวกคุณ"จะสามารถร่วมสนุกได้ไม่ว่าจะเป็นกีฬาอะไร ไม่ใช่เพียงแค่ฟุตบอล
-การเข้าชม และมีส่วนร่วมกับการแข่งขันเชื่อมร้อยคนทุกห้วงอายุเข้าด้วยกันฝ่านกีฬา

เจลีกเชื่อในการสร้างสภาพแวดล้อมที่จะทำให้ทุกสะดวกในการมีส่วนร่วมในความสามารถและความต้องการของแต่ละคน

สนามกีฬาอันน่าหลงใหลจะเป็นแกนกลางของการเติมเต็มชุมชนกีฬาที่รุ่มรวย
"วิสัยทัศน์ใน 100 ปี" เป็นการวางแผนของเจลีกที่จะมุ่งมั่นพยายามจะตระหนักอยู่เสมอในเป้าหมายนี้
......................
การตระหนักถึงชุมชนและเมืองที่สโมสรตั้งอยู่ แสดงให้เห็นว่าแนวคิดของเจลีกไปไกลกว่าเรื่องฟุตบอลและธุรกิจแล้ว สิ่งสำคัญของเขาก็คือ การให้ฟุตบอลเป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกของชีวิตเมือง ทั้งในการเป็นพื้นที่สีเขียว และแหล่งกิจกรรมทางกีฬาที่สำคัญ ขณะที่บ้านเรามักจะไปกันคนละทาง

สานฝันบอลลำปาง
พฤหัส 25
มิถุนา 52

บางทัศนะ ว่าด้วยฟุตบอลอาชีพ


ภาพจากการ์ดโทรศัพท์ ตัวมาสคอตของทีมในเจ-ลีก ลีกจากญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ที่มา : http://www.north-wales-collectables.com/-p-3679.html


ตัดมาส่วนหนึ่งที่น่าสนใจให้อ่านกันครับ ว่าด้วยเรื่องฟุตบอลอาชีพในเมืองไทย

ฟุตบอลไทย กับ พัฒนาการที่หยุดยั้ง
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=374323

ครั้งหนึ่ง “คุณ บอ.บู๋” คอลัมน์นิสต์ชื่อดังจากค่ายสตาร์ซอคเกอร์ เคยให้ความเห็นทำนองว่าที่ฟุตบอลไทยไม่พัฒนา เราไม่ควรมาโทษว่าเพราะคนไทยมัวแต่สนใจบอลนอก คุณ บอ บู๋ แนะนำว่าทางที่ดีเราควรหันกลับมามองตัวเราเองก่อนว่าลีกของเรามันไม่พัฒนา ตรงไหน

ผมเห็นด้วยกับคุณ บอ.บู๋ ครับ ทั้งนี้หากเราใช้กรอบการวิเคราะห์ของวิชาเศรษฐศาสตร์มองความล้มเหลวของ ฟุตบอลอาชีพในบ้านเรา เราก็ต้องหาคำตอบให้ได้ว่าทำไมผู้ผลิตบริการฟุตบอลบันเทิงอย่างสมาคมฟุตบอล นั้นไม่สามารถผลิตบริการฟุตบอลบันเทิงได้เป็นที่ประทับใจชาวไทยผู้บริโภค ฟุตบอล

ผลจากความล้มเหลวของฟุตบอลลีกอาชีพทำให้ “สโมสรฟุตบอล” ไม่สามารถพัฒนาตนเองจนขยับขึ้นมาเป็น “ธุรกิจการกีฬา” เมื่อสโมสรไม่พัฒนา คำว่า “นักฟุตบอลอาชีพ” ก็ไม่เกิดเพราะนักฟุตบอล คือ แรงงานที่มีทักษะ (Skill labor)ในการผลิตบริการฟุตบอลบันเทิง นอกจากนี้นักฟุตบอลที่มีฝีเท้าดีก็ย่อมหาทางเลือกที่ดีให้กับตัวเองด้วยการ ย้ายตัวเองไป “ค้าแข้ง” ในลีกและสโมสรที่ให้ค่าเหนื่อยในระดับที่สมน้ำสมเนื้อกับการเป็น “นักฟุตบอลอาชีพ” ด้วยเหตุนี้เองนักเตะทีมชาติไทยของเราจึงนิยมไปค้าแข้งตั้งแต่ลีกล่างๆใน ยุโรป เอสลีกในสิงค์โปร์ เซมิโปรลีกในมาเลเซียรวมไปถึงวีลีกในเวียดนาม

อย่าง ไรก็ตามปัจจัยเล็กๆที่อาจทำให้บอลลีกภายในประเทศเริ่มพัฒนาได้ คือ การสร้างความรู้สึก “จังหวัดนิยม” ขึ้นมาก่อน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อความกระหายของแฟนฟุตบอลประจำจังหวัดที่อยากเข้ามา ดูผลงานของจังหวัดตัวเอง เหมือนที่ครั้งหนึ่งบ้านเราเคยมีทัวร์นาเมนต์ “ยามาฮ่า ไทยแลนด์ คัพ” (Yamaha Thailand Cup) ซึ่งผมคิดว่าเป็นทัวร์นาเมนต์ที่มีสีสันมากที่สุดทัวร์นาเมนต์หนึ่งครับ

กรณี จังหวัดนิยม ผมชื่นชมการสร้างทีมของ “ชลบุรี เอฟซี” หรือ “ฉลามชล” (The Shark) ที่สามารถสร้างสีสันให้กับฟุตบอลไทยแลนด์ลีกได้ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา และเราคงแอบหวังลึกๆว่าจะมีจังหวัดต่างๆเริ่มหันมาพัฒนาและร่วมสร้างฟุตบอล ลีกภายในประเทศอย่างจริงจังโดยไม่ต้องรอการชี้นำจาก “สมาคม” เพียงอย่างเดียว

ในวงการฟุตบอลอาเซียนด้วยกัน สิงค์โปร์กำลังพัฒนา “เอสลีก” (S-league) ของพวกเขาให้เจริญรอยตาม “เจลีก” (J-leauge) เช่นเดียวกับที่เวียดนามได้สร้างให้ “วีลีก” (V-league) มีความแข็งแกร่งจนทำให้เวียดนามประสบความสำเร็จในระดับภูมิภาคได้อย่างที่ พวกเขาฝันไว้

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้ดูการแข่งขันฟุตบอลระดับโรงเรียนประถมที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ผมสนุกไปกับเกมส์ที่เห็นเด็ก ป.5-ป.6 เล่นบอลกันด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นทุ่มเท มันเป็นภาพความสุขแบบเรียบง่ายที่ครั้งหนึ่งผมเชื่อว่าเด็กผู้ชายหลายคนคง เคยมีประสบการณ์แบบนี้มาแล้ว

บางที “ฟุตบอล” อาจจะไม่ต้องการอะไรมากมายหรอกครับ ขอแค่ให้ “ใจ” ไปกับมันทั้งคนเล่น คนทำทีม หรือแม้แต่คนบริหารสมาคมฟุตบอลเองก็ตาม

Hesse004
........................
สานฝันบอลลำปาง
พุธ 24
มิถุนา 52

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อ่าน บอ.บู๋ เทใจให้ไทยพรีเมียร์ลีก


บอ บู๋ คอลัมนิสต์ลีลาแพรวพราว แห่งสตาร์ซอคเกอร์

ทุ่งหญ้า มหาประลัย โดย บอ.บู๋ ตอน...บอลไทยกลับมาแล้ว ?
ที่มา หนังสือพิมพ์ สตาร์ ซอคเก้อร์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552 หน้า 19
ที่มา (อีกที) จาก http://ballthai.exteen.com/20090410/entry-1


ฟุตบอลลีกแบบไทยๆ เปิดฉากแล้วนะครับ โดยฤดูการนี้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อใหม่อีกครั้งเป็น “ไทยพรีเมียร์ลีก” (ไม่ใช่ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก หรือไทยลีก เหมือนก่อน)

โทษฐานที่เคยเป็นแฟนบอลไทย (ยุคคลาสสิก) แถว เคยมีบ้านอยู่แถวสนามศุภชลาศัย อดีตกองเชียร์ราชประชา และทหารอากาศ แบบสุดลิ่มทิ่มทะลุดากอย่างผมตั้งใจไว้ว่าฤดูกาลนี้จะติดตามชม ไทยพรีเมียร์ลีก ให้มากที่สุดชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับตั้งแต่หมดยุครุ่งเรืองของ ฟุตบอลไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว

เหตุเพราะ...

1. มีความรู้สึก อย่างชัดเจนว่า “มันกลับมาแล้ว” คือ กระแสคลั่งไคล้ในบอลไทยกลับมาแล้ว หลังจากที่ถูกความน่าเบื่อลักพาตัวไปนาน เดี๋ยวนี้ฟุตบอลลีกสูงสุดของประเทศไทย มีทั้งพัฒนาการคลองตัน และอาจเลยไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิที่เป็นรูปเป็นร่าง และมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้นเรื่อยๆ

1.1 รูปแบบการแข่งขันในลีก ที่เพิ่มขึ้นเป็น 16 ทีม แข่ง แบบเหย้า-เยือน สนามใครสนามมัน (มา 2 ปีแล้ว) ไม่ใช่ตะบี้ตะบันแข่งกันสนามเดียวเหมือนแต่ก่อน

1.2 หลายทีมเริ่มฉลาดขึ้น เอ้ย! เริ่ม มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดการ หรือการนำเสนอ หลายสโมสรมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องที่เคยมองข้ามมาตลอด อย่างตราสโมสร หรือเครื่องแบบที่ใช่ในการแข่งขัน (ไม่เชยระเบิดนาปาล์มเหมือนแต่ก่อน) เพราะผมว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้มีส่วนในการดึงดูดกองเชียร์รุ่นใหม่ ซึ่งต้องขอบคุณสโมสร ชลบุรี เอฟซี ที่แสดงต้นแบบทางด้านนี้ให้ทีมอื่นเห็นเป็นตัวอย่าง

1.3 แต่ละที่เริ่มมีกองเชียร์ที่เหนียวแน่นมากขึ้น โดยอาศัยวิธี “ท้องถิ่นนิยม” เฉพาะอย่างยิ่งทีมที่เคยอยู่ในกรุงเทพฯ ที่ย้ายตัวเองไปต่างจังหวัด ยกตัวอย่างเช่น ราชนาวี ระยอง, ทีทีเอ็ม สมุทรสาคร, การ ไฟฟ้า-อยุธยา หรือ ทีโอที กาญจนบุรี เพื่อสร้างความผูกพันกับท้องถิ่นนั้นๆ ผิดกับเมื่อก่อนที่แต่ล่ะทีมเป็นสโมสรขององค์กร, ของธนาคาร หรือบริษัทต่างๆ ที่ไม่มีความผูกพันกับคนในพื้นที่

2. กองเชียร์ของแต่ละทีมชักเริ่มจะมี “สีสัน” อันฉูดฉาดน่าดึงดูดตา ดึงดูดใจ แถมยกตูดตัวเองให้เป็นอินเตอร์มากขึ้น แทนที่จะเชียร์แบบ “ฉิ่ง-ฉาบ-ทัวร์” เหมือนแต่ก่อน ที่สำคัญคือมาเชียร์ด้วยใจ ไม่จัดอยู่ในประเภทเชียร์จัดตั้งที่ถูกเกณฑ์มานั่งกระทืบมือเป็นหุ่นยนต์โดนโปรแกรมไปวันๆ


เข้าใจแล้วครับว่า เราได้รับวัฒนธรรมการเชียร์แบบนี้ มาจากพวกฝรั่งอั้งม้อที่เห็นเป็นประจำทางทีวี แต่ถ้ามันช่วยฟุตบอลไทยให้มีสีสันมากขึ้น มันก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ารังเกียจอะไรนี่หว่า

3. ตัวผมอยากมีสโมสรในศึก ไทยพรีเมียร์ลีก เป็นทีมเชียร์ของตัวเองบ้าง เหมือนกับพวกสเกาเซอร์สเขามี ลิเวอร์พูล กับเอฟเวอร์ตัน เป็นทีมเชียร์ และเหมือนกับที่พวกแมนคูเนี่ยนเขามี แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เป็นทีมเชียร์ ส่วน แมนเชสเตอร์ ซิตี้ จัดเป็นความภาคภูมิใจของชาวอาบู ดาบี ไปแล้ว ฮ่าๆๆๆ

4. ยิ่งมีผู้ชมในสนามมากเท่าไหร่ นักฟุตบอลย่อมมีความกระหายในการฟาดแข้งมากขึ้นเท่านั้น เมื่อผู้ชมมากขึ้นนักเตะก็บอลก็มีความกระตือรือร้นมากขึ้น เกมในสนามจึงทวีความตื่นเต้นสนุกสนาน และกระซวกแข้งกันอย่างถึงใจพระเดชพระคุณดีนักแล

5.การเดินทางไปดูฟุตบอลที่สนาม จัดเป็นการบันเทิงแขนงหนึ่ง ซึ้งได้ทั้งอารมณ์ และความรู้สึกมากกว่านอนกระตุกหำด้วยความเร็วปานกลาง พลางดูการถ่ายทอดสดผ่านจอทีวีอยู่ที่บ้าน หรือไปเดินเที่ยวตามห้างเป็นไหนๆ

...ว่าไปแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้นัดกับตัวเองที่สนาม ธันเดอร์โดม ของทีม “กิเลนผยอง”เมืองทองฯ ยูไนเต็ด เป็นประเดิม

เนื่องจากติดตามเชียร์ทีมนี้มาตั้งแต่สมัยอยู่ใน ดิวิชั่น1 เมื่อฤดูกาลที่แล้วจนคุ้นหน้าคุ้นตากันดี ผู้บริหารระดับสูงของทีม เขาเลยแต่งตั้งให้ผมเป็นพิธีกรประจำสนามเหย้าของทีมเมืองทองฯซะอย่างงั้น

บทบาทหน้าที่ก็ไม่มีอะไรมากกว่า การประกาศรายชื่อผู้เล่นของทั้ง 2 ทีมก่อนลงสนาม ชวนแฟนบอลเล่นเกมในช่วงพักครึ่ง รวมถึงกระตุ้นอารมณ์กองเชียร์ ให้เกิดอาการกำหนัดในลูกหนังอย่างรุนแรง ทั้งก่อน และหลังแข่ง (ยกเว้นระหว่างการแข่งขัน)โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากนายพิธีตามสนามต่างๆ ของอังกฤษที่เคยประสบมา

คือไม่ต้องเป็น “ทางการ” สัก เท่าไหร่ สามารถใส่ลูกเล่นในการประกาศรายชื่อนักเตะเจ้าบ้านได้ตามสะดวก หรือแอบอำคู่แข่งที่สนามอื่น หรือแอบข่มขวัญคู่ต่อสู้บ้าง เพื่อกระชากอารมณ์ร่วมจากกองเชียร์ในสนาม แทนที่จะทำทุกอย่างให้เป็น “ทางการ” ตามขนบธรรมเนียมเดิมๆ ของฟุตบอลไทย ซึ่งผมว่ามันน่าเบื่อ

ผู้มาเยือนสนามบางท่านอาจไม่เข้าใจ หรืออาจคิดมากเกินเหตุ เนื่องจากยังมีมนุษย์บางเผ่าพันธุ์ในประเทศไทยเป็นโรคคิดมากเกินเหตุในทุกๆ เรื่องว่าแล้วก็จับนายพิธีโรคจิตอย่างผม ไปกระทืบในกระทู้ตามเว็บบอร์ดซะงั้น จึงต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย เพราะเจตนาคืออยากสร้างบรรยกาศในบ้านตัวเอง ให้มีความสนุกสนามมากยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง

หรือ พวกพี่ต้องการให้พิธีการสนาม นั่งพับเพียบบนหน้าเคร่งขรึม พ่นน้ำลายใส่ไมค์ด้วยนำเสียงที่เป็นทางการเหมือนในประกาศของคณะปฎิวัติ? ในส่วนของผู้ชมในสนาม ธันเดอร์โดม เมื่อวันอาทิตย์


บอกได้คำเดียวครับว่า...เพียบ! หมายถึงจำนวนผู้ชมบนอัฒจันทร์นะครับ ไม่ใช่เหล้าเบียร์

บ้าน ของทีมเมืองทองฯ มีชื่อว่าธันเดอร์โดมซึ่งวางอยู่ข้างๆ ธันเดอร์โดม ที่ใช้ในการจัดคอนเสิร์ตในระแวกเมืองทองนั่นแหละครับ โดยสังเวียนแข้งแห่งนี้มีอัฒจันทร์เพียงด้านเดียว พร้อมหลังคากันแดด และกันฝนเพิ่งปรับปรุงใหม่ให้ไฉไลยิ่งขึ้น

ความจุของอัฒจันทร์นาจะประมาณ 5,000 คน ซึ่งเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา คะเนด้วยสายตาแล้วถือว่าทะลักจุแตกเลยทีเดียว

โดยเฉพาะกลุ่มกองเชียร์ประเภท “ฮาร์ดคอร์” ที่เรียกตัวเองว่า “อุลตร้าเมืองทอง” กว่าร้อยชีวิตที่ยกโขยงกันเข้ามาสร้างบรรยากาศในการเชียร์ฟุตบอล อันแตกต่างจากขนบธรรมเนียม และประเพณีในการเชียร์บอลไทยแบบเดิมๆ

คาดว่าน่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเชียร์ฟุตบอลในประเทศ อิตาลี และสเปน บวกกับอิทธิพลที่ได้รับจาก “ยอดมนุษย์อุลตร้าแมน” แน่ๆ เลย เพราะผมเห็นบางคนใช่หน้ากากอุลตร้าแมนเข้ามาเชียร์ซะอยางงั้น

คือที่อิตาลี และสเปนมีฝูงกองเชียร์ที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มอุลตร้า” ซึ่งจัดเป็นกองเชียร์ประเภท “ฮาร์ดคอร์” ที่ นิยมเชียร์กันอย่างรุนแรง และกะซวกไส้กันจริงๆ (หมายถึงใช้มีดกะซวกไส้) โดยเฉพาะกลุ่มอุลตร้าของโรม่า และเรอัล มาดริด ที่ติดอันดับความดิบเถื่อน เพียงแต่กลุ่ม “อุลตร้าเมืองทอง” เขายืมแค่ชื่อมาเฉยๆ ครับไม่ได้ยืมความรุนแรงมาด้วยจึงเชียร์ด้วยความสุภาพปราศจากความหยามคาย ประเภทด่าพ่อล่อแม่ทีมคู่แข่ง

รูปแบบการเชียร์ของกล่มอุลตร้าเมืองทอง แทบจะถอดแบบกองเชียร์ในยุโรปมาเลยครับคุณ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแบบในการเชียร์ที่เหมือนกันทั้งหมด เพื่อแสดงพลังไม่ว่าจะเป็นการยืนเชียร์ พลางกระโดดโลดเต้นตามจังหวะแทนการนั่งอย่างเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นการคำรามเชียร์ด้วยหลากหลายเพลง ที่พวกเข้าแต่งขึ้นเพื่อให้กำลังใจนักเตะของตัวเอง และข่มขวัญคู่ต่อสู้ แถมมีจุดพลุควันเวลากระทุ้งตาข่ายได้อีกต่างหาก

เหล่านี้แหละครับที่เรียกว่า “สีสัน” อีก ทั้งยังเป็นสีสันอันฉูดฉาดบาดตา ไม่ต่างจากกลุ่มกองเชียร์ฉลามชล หรือปลาทูคนอง กองเชียร์กลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาปฎิวัติรูปแบบการเชียร์ให้หลุดออกนอกกรอบ

ผมว่าการเชียร์แบบนี้ถือเป็นการ “ต่อสายตรง” จากกองเชียร์ถึงผู้เล่นในสนาม คือสามารถส่ง “สาร”ที่ ต้องการจะฉีดใส่ผู้ในสนามโดยตรง ซ้ำยังมีอานุภาพมากกว่าการเชียร์แบบ ฉิ่ง ฉาบ ทัวร์ ประเภทงัดเอาเพลงจังหวะ 3ช่า มาร้องพลางตีกลองแล้วตีฉาบไปเรื่อยๆ

โดยไม่สนใจว่าสถานการณ์ในสนามเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น กรูก็จะร้องแหกปากเพลง และดิ้นในจังหวะ 3 ช่าของกรูไปอย่างนั้น

ตกลงมึงมาดิ้นหรือมาเชียร์ผุ้เล่นในสนามเนี่ย?

คือมันเหมือนเพลงประกอบเกมลูกหนังมากกว่าการส่งกำลังใจนักเตะ

จากการสอบปากคำกองเชียร์คนหนึ่ง ทำให้ทราบว่า “อุลตร้าเมืองทอง” คือกลุ่มกองเชียร์ ที่สถาปนาตัวเองขึ้น จากแฟนบอลในละแวกนั้น (เมืองทอง, แจ้งวัฒนะ, หลักสี่, ปากเกร็ด และนนทบุรี) ที่อยากมีทีมรักเป็นของตัวเองในเมืองไทยให้ติดตามเชียร์ทุกสัปดาห์ เหมือนแฟนบอลเมืองนอกบ้าง

สำหรับทีม “กิเลนผยอง” เมืองทองฯ ยูไนเต็ด ถือ เป็นทีมน้องใหม่ที่ใช้เวลาเพียง 2 ฤดูกาล ตะกายจากดิวิชั่น 2 ขึ้นมาอยู่บนพรีเมียร์ได้สำเร็จ โดยบริหารทีมตามแบบฉบับ ของสโมสรฟุตบอลอาชีพจริงๆ แถมผมกล้าสาบานหนักแน่นว่าเจ้าของทีมระดับเจ้าสัวของทีมนี้ เป็นผู้ที่บ้าบอล และมีใจรักในเกมลูกหนังมากกว่า“เสี่ยหมี” โรมัน อบราโมวิช แห่ง สแตมฟอร์ด บริดจ์เสียอีก อิอิอิ

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่บอกว่าทำไม เมืองทองฯ ยูไนเต็ด จึงเป็นศูนย์รวมดาวดังทีมใหม่ของ ไทยพรีเมียร์ลีก ที่อุดมไปด้วยดาวดังระดับทีมชาติอย่าง ธีรศิลป์ แดงดา, ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์, เจษฏา จิตสวัสดิ์, สุริยา ดอมไธสง, พิชิต พงษ์ เฉยฉิว หรือนายทวารดาวรุ่งมุ่งทีมชาติชุดใหญ่อย่าง กวิน ธรรมสัจจานันท์ รวมถึงดาวเตะต่างชาติที่นำเข้ามาจาก ไอวอรี่โคสต์ ล้วนๆ โดยเฉพาะผู้เล่นชื่อ ซูโมโฮโร่ ยาย่า ที่ลีลาเหลือรับประทาน จัดเป็นขวัญใจอันดับหนึ่งของกองเชียร์มาตั้งแต่เล่นดิวิชั่น 1

ฉะนั้นหากใครยังไม่มีทีมเชียร์ รีบหาทีมเชียร์เป็นของตัวเองซะนะครับ เพราะสิ่งที่ผมเพิ่งประสบที่ สนามธันเดอร์โดม นั้นมันช่างประทับใจ แถมแปลกใหม่จากที่เคยสัมผัสจริงๆ เราบ้าคลั่งกับฟุตบอลลีกของชาวบ้านนอกมามากแล้ว หากแบ่งเวลา และความบ้าคลั่งให้บอลลีกของตัวเองบ้าง น่าจะช่วยยกระดับของบอลไทย ให้มีชาติตระกูลมากยิ่งขึ้น

...ว่าแล้วขอยืนยันหนักแน่นว่าความสนุกสนาน ของบอลไทยเริ่มจะทยอยเดินทางกลับมาแล้วนะครับ ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ชมอย่างเราๆ ท่านๆ นั่นแหละ ว่าจะช่วยกระชากมันให้กลับมาเร็วขึ้นหรือเปล่า?

บอ.บู๋
........................
เอามาฝาก เอามากระตุ้นกันนะครับ

สานฝันบอลลำปาง
อังคาร 23
มิถุนา 52

กรณีศึกษา 01 สโมสรสมุทรปราการ ริเริ่มด้วยเทศบาลเมืองสมุทรปราการ


โลโก้ทีมสมุทรปราการเอฟซี

โมเดลแรก เป็นการริเริ่มด้วยเทศบาลเมืองสมุทรปราการ
ลองดูกันครับว่า เค้าเริ่มต้น และบริหารจัดการทีมกันอย่างไร
.......................
ประวัติสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ
http://www.samutprakarnfc.com/index.php?mo=3&art=235939

สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ นับว่าเป็นน้องใหม่ของวงการฟุตบอลชาวปากน้ำ เพราะถือกำเนิดมาไม่นาน แต่ก็คุ้นหูชาวปากน้ำว่า “สมุทรปราการ เอฟ ซี” นั่นก็คือ สโมสรฟุตบอลจังหวัด สมุทรปราการ ที่เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Samutprakarn Football Club”

การถือกำเนิดแห่งสมุทรปราการ เอฟ ซี สืบเนื่องมาจาก ในปี 2551 สโมสรเทศบาลนครสมุทรปราการ ได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอล ดิวิชั่น 2 ซึ่งจัดการแข่งขันโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งการเข้าร่วมการแข่งขันของทีมเทศบาลนครสมุทรปราการใน เลกที่ 2 เดือนมกราคม 2551

ทีมเทศบาลนครสมุทรปราการเกิดการขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถที่จะบริหารทีมให้มีประสิทธิภาพ จึงได้มีการประสานและชักชวนให้ บริษัท คอนเนคชั่นนิสต์ จำกัด โดยนายพีรพัฒน์ ถานิตย์ ในฐานะประธานกรรมการบริหารบริษัทฯดังกล่าว ได้เข้ามามีส่วนในการดูแลทีม ทำให้ทีมเทศบาลนครสมุทรปราการมีสภาพที่ดีขึ้น โดยจบฤดูการแข่งขัน สามารถรักษาอันดับและฟอร์มการเล่นอยู่ในตำแหน่งที่ 5 ตลอดจนมีการมอบสิทธิในการบริหารจัดการทีม ให้บริษัท คอนเนคชั่นนิสต์ จำกัด เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 โดยประธานชมรมเทศบาลนครสมุทรปราการ มีหนังสือมอบสิทธิ

จากการมอบหมายการบริหารทีมฟุตบอลเทศบาลนครสมุทรปราการดังกล่าว อีกทั้งการเคลื่อนไหวของวงการฟุตบอลในระดับปะเทศ โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ได้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่และมีระเบียบว่าด้วยมาตรฐานการจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ ที่จะดำเนินการในฤดูการปี 2552 ของทุกลีกอาชีพ จะต้องให้มวลสโมสรสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการตามข้อกำหนดของ AFC

ด้วยความคิดก้าวหน้าและบุคลิกของ นายพีรพัฒน์ ถานิตย์ ซึ่งเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ซึ่งคร่ำหวอดอยู่ในวงการธุรกิจ เห็นว่าการที่จะทำให้ฟุตบอลของจังหวัด สามารถอยู่ในระดับแนวหน้าและเป็นทีมฟุตบอลอาชีพที่ได้มาตรฐานตามที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยมีความคาดหวังและเจตนารมย์ให้สโมสรสมาชิกสามารถดำเนินการในการปรับปรุงและพัฒนาวงการกีฬาฟุตบอลของจังหวัดต่าง ๆ ให้เป็นสากล เช่นนานาประเทศที่มีฟุตบอลอาชีพอย่างยั่งยืน

เมื่อเป็นดังนั้นจึงมีการขอเปลี่ยนแปลงชื่อทีมร่วมการแข่งขัน จากทีมเทศบาลนครสมุทรปราการ เป็น ทีมสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้ชาวปากน้ำเข้ามามีส่วนร่วมในการเชียร์ ชมและสนับสนุนกีฬาฟุตบอลในนามตัวแทนของจังหวัด

แต่จากข้อบังคับสโมสรสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ไม่สามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อทีมได้ เมื่อจบฤดูกาลปี 2551 ทีมเทศบาลนครสมุทรปราการยังคงมีสิทธิของสโมสรสมาชิกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และบริษัท คอนเนคชั่นนิสต์ จำกัด ก็มิได้ดูแลและบริหารทีมเทศบาลนครสมุทรปราการ จึงเป็นต้นกำเนิดแห่ง “สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ” ที่ได้ขอสมัครและจดทะเบียนเป็นสมาชิกสมาคมกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ ตามข้อบังคับของสมาคมกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 และเริ่มประสานงานกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในการเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกถูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในนามตัวแทนจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา

สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรปราการ จึงถือกำเนิดเป็นสโมสรสมาชิกของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในนามสิทธิตัวแทนจังหวัดสมุทรปราการ และด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาวงการกีฬาจังหวัดให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมจังหวัดอื่น ๆ และเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ ดิวิชั่น 2 ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย สโมสรได้วางระเบียบและรูปแบบการบริหารงานเป็นสากล ดำเนินการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลขึ้นในรูปบริษัท นามว่า “Samutprakarn Fan Club” บริหารงานโดยการนำการตลาดที่ครบวงจรมาใช้

โดยพิจารณาว่า ทีมฟุตบอลหรือนักฟุตบอล คือ “สินค้า” แฟนฟุตบอลและสปอนเซอร์ คือ “ลูกค้า” สโมสร คือ “บริษัท” และกำหนดองค์กรทางการตลาด (4P)

Product : กำหนดการพัฒนาทีมฟุตบอลของสโมสร

P 1 เน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล ศักยภาพ คุณภาพที่โดดเด่นของทีม ที่ต้องมีผลงานการแข่งขันที่เป็นเลิศทุกครั้งที่เข้าร่วมการแข่งขัน (Quality)

P 2 สร้างเอกลักษณ์ของสโมสรฯ (Brand Image) สัญลักษณ์(โลโก้)ตราสโมสรที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของจังหวัด ชุดแข่งขันที่โดดเด่นสวยงาม

P 3 ความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้า (Brand Identity) เช่น เสื้อแฟนคลับที่โดดเด่นสวยงาม ริชแบน Samutprakarn FC พวงกุญแจตราสโมสร ฯลฯ

Price : การกำหนดราคาของสินค้าที่เหมาะสม ตลอดจนราคาบัตรเข้าชม

Place : สโมสรฯ มีที่ทำการที่มีความสะดวกสบาย ตั้งอยู่ใจกลางเมืองปากน้ำ อาคารสโมสรฯตรงข้ามโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง ตลอดจนสนามที่สโมสรได้ดำเนินการจัดเช่าที่ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมเดินทางแสนสะดวกริมถนนศรีนครินทร์ สนามพีรพัฒน์ บริเวณด้านหน้าหมู่บ้านมัณฑนา ถนนศรีนครินทร์ อำเภอเมือง

Promotion : สโมสรฯได้กำหนดการส่งเสริมการตลาด โดยเปิดรับสมัครสมาชิกและแฟนคลับในราคาพิเศษสุด ก่อนเปิดฤดูการแข่งขัน ลดราคาสินค้าที่ระลึกของสโมสร รวมทั้งกำหนดให้มีการรับสมัครเยาวชนเพื่อเป็นตัวแทนทีมเชียร์ ทีมประชาสัมพันธ์ของสโมสรฯ

และทั้งนี้เปิดรับผู้สนับสนุนทีมสโมสรฯ โดยผู้สนับสนุนจะได้รับสิทธิพิเศษจากสโมสรมากมาย เช่น การร่วมเป็นพันธมิตรของผู้สนับสนุนทางการค้า การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการตลาดในช่องทางต่าง ๆ เช่น สื่อสารมวลชน เคเบิลทีวี Billoard เว็บไซด์สื่อสารมวลสมาชิก เพื่อร่วมส่งเสริมการตลาดไปด้วยกัน
..........................
สานฝันบอลลำปาง
จันทร์ 22
มิถุนา 52

เกณฑ์มาตรฐานของสโมสรฟุตบอลที่จะจัดตั้ง


ตัวอย่างโลโก้ของทีมนครราชสีมา ที่เปลี่ยนจากย่าโมมาเป็นแมวสีสวาทสุดเท่ห์


ตัวอย่างโลโก้ของทีมสโมสรตากที่ดุดันและสวยงาม


เข้าไปแวะชมเว็บไซต์ของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ปรากฏพบว่า มาตรฐานสโมสรฟุตบอลอาชีพแห่งประเทศไทย นั้นเขียนไว้ไม่ครบถ้วน แต่ก็ควรจะนำมาเผยแพร่ให้รับทราบในเบื้องต้นก่อนกล่าวคือ

1. สโมสรฟุตบอลต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 9 ข้อ ดังนี้
1.1 ประธานคณะกรรมการบริหาร
1.2 เลขานุการ
1.3 ประชาสัมพันธ์
1.4 ฝ่ายการตลาดและสิทธิประโยชน์
1.5 ฝ่ายสถานที่และอุปกรณ์
1.6 ผู้จัดการทีม
1.7 ฝ่ายจัดการแข่งขัน
1.8 ฝ่ายการเงิน
(ที่เหลือต่อจากนี้ administrator ของเว็บมิได้เขียนต่อ)
http://www.sat.or.th/soccer/index.php?option=com_content&task=view&id=6

เพียงแค่นี้ ก็ทำให้รู้ว่าลำปางเรายังต้องการการจัดการอีกมากที่จะสร้างสโมสรฟุตบอลของชาวลำปางขึ้นมาอย่างจริงจัง

ฝากเอาไว้เผื่อใครจะมาฝันกันต่อ

สานฝันบอลลำปาง
จันทร์ 22
มิถุนา 52

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทางเดินสู่ไทยพรีเมียร์ลีก ของทีมลำปาง


โลโก้ของโปรวินเชียล


ตารางการแข่งขันรายการฟุตบอลต่างๆ ในปี 2551

ทางเดินของทีมลำปางนั้น แม้จะยังอีกยาวไกล แต่เราก็ควรที่จะรู้โครงสร้างและกรอบที่ทีมลำปางจะได้เจอด้วย เท่าที่จับความมาจากวิกิพีเดียสรุปได้ดังนี้

ทีมลำปางจะต้องไต่เต้าเข้าไปสู่ระบบดิวิชัน 2 ให้ได้ก่อน ในขณะนี้อาจเรียกได้ว่าเราอยู่ในระดับโปรวินเชียลลีก ซึ่งเดิมเรียกว่าโปรลีก 2 เป็นลีกระดับลงมา โดยจัดการแข่งขันแบ่งตามภูมิภาค 5 ภาคทั่วประเทศ จัดการแข่งแบบทัวร์นาเมนต์ โดยทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศในแต่ละภาค จำนวน 10 ทีม (2 ทีมจากแต่ละภูมิภาค)มาแข่งหาผู้ชนะเลิศในโปรลีก 2 จนกระทั่งสิ้นปี 2549 หลังจากที่โปรลีก 1 ได้ถูกรวมเข้าไปแล้ว โปรลีก 2 ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น โปรวินเชียลลีก โดยผู้ชนะเลิศในแต่ละภูมิภาคจะมาทำการแข่งขันในรายการ แซตแชมเปียนชิพ และจะได้สิทธิในการไปร่วมเล่นในลีกฟุตบอล ไทยลีกดิวิชัน 2

จากนั้น ในไทยลีกดิวิชั่น 2 ทีมอันดับที่ 1-2 ของสาย A และ B ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปเล่นในดิวิชั่น 1 ทีมอันดับที่ 7-11 ของสาย A และ B ถูกลดชั้นไปเล่นฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. หรือ โปรลีก

ในระดับดิวิชั่น 1 ทีมอันดับที่ 1-3 ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก ทีมอันดับที่ 13-16 ถูกลดชั้นไปเล่นในดิวิชั่น 2

พรีเมียร์ลีก ทีมอันดับที่ 1 ได้สิทธิ์ไปเล่นฟุตบอลเอเอฟซีแชมเปี้ยนส์ลีกรอบคัดเลือก ทีมอันดับที่ 2 ได้สิทธิ์ไปเล่นฟุตบอลเอเอฟซี คัพ ทีมอันดับที่ 14-16 ถูกลดชั้นไปเล่นในดิวิชัน 1

http://th.wikipedia.org/wiki/ฟุตบอลในประเทศไทย
http://th.wikipedia.org/wiki/โปรวินเชียลลีก

สานฝันฟุตบอลลำปาง
อาทิตย์ 21
มิถุนา 52

ทัวร์เมนท์แข่งบอลในลำปางล่าสุด ฟุตซอล อบจ.คัพ 16 มิถุนา-12 กรกฎานี้ พร้อมระเบิดแข้ง


บรรยากาศการแถลงข่าว


การแถลงข่าว ด้านหลังคือทีมโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย

นักเตะฟุตซอลทีมชาติไทย มาร่วมสร้างสีสัน


บรรยากาศการแถลงข่าว


บรรยากาศการแถลงข่าว

ตอนนี้เริ่มเข้มข้นขึ้นทุกขณะกับการแข่งขันฟุตซอลอบจ.คัพ ผมไปเจอลิ้งค์ข่าว และภาพบรรยากาศการแถลงข่าวเลยเอามาให้ดู ช่วยกันกระตุ้นกระแสบอลลำปางกัน...

อบจ.ลำปางร่วมกับสมาคมกีฬาจังหวัดลำปาง จัดแถลงข่าว การแข่งขัน อบจ.ลำปางโอเพ่น ครั้งที่ 1 ประจำปี 2552 ดึงเลขานุการประธานฝ่ายพัฒนาฟุตซอลชาติไทยร่วมด้วย โดยมีสองนักเตะทีมชาติ "อนุชา"และ"เศรษฐกรชัย"ร่วมสร้างสีสันภายในงานเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา

องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ร่วมกับ สมาคมกีฬาจังหวัดลำปาง จัดแถลงข่าวการแข่งขัน อบจ.ลำปางโอเพ่น ครั้งที่ 1 ประจำปี 2552 โดยนางสุนี สมมี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ในฐานะประธานจัดการแข่งขัน ฯ นายสมบูรณ์ ปิงกาวี ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ในฐานะประธานฝ่ายกีฬาฟุตซอล สมาคมกีฬาจังหวัดลำปาง นายสุชา โกษาวัง ผู้อำนวยการศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดลำปาง และนายวรภัทร เวชภูติ เลขานุการประธานฝ่ายพัฒนาฟุตซอลชาติไทย ร่วมแถลงข่าว

ทั้งนี้มีสองนักเตะทีมชาติ อนุชา มั่นเจริญ และเศรษฐกรชัย ชื่นตา รวมทั้งนายอัษฎางค์ เถิ่งเฟื่อง เลขานุการผู้จัดการทีมชาติไทย ร่วมงานแถลงข่าวในครั้งนี้นางสุนี สมมี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า ตามที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางร่วมกับสมาคมกีฬาจังหวัดลำปาง ได้เตรียมจัดการแข่งขัน อบจ.ลำปางโอเพ่นครั้งที่ 1 ประจำปี 2552

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนและประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติด โดยใช้กีฬาฟุตซอลเป็นสื่อกลางในการพัฒนาร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและอารมณ์ และด้วยความมุ่งมั่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง สมาคมกีฬาจังหวัดลำปาง สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตจังหวัดลำปาง และโรงเรียนกีฬาจังหวัดลำปาง ที่จะส่งเสริมและพัฒนากีฬาฟุตซอลของจังหวัดลำปางให้มีชื่อเสียงและก้าวสู่ระบบสากลมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ได้ประกาศรับสมัครตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน -29 พฤษภาคม 2552 หลังจากที่การรับสมัครสิ้นสุด ปรากฏว่ามีนักกีฬาทั้งในและต่างจังหวัดให้ความสนใจร่วมสมัครการแข่งขันรวมทั้งสิ้น 105 ทีม แบ่งเป็นรุ่นยุวชนชายอายุไม่เกิน 15 ปี จำนวน 18 ทีม รุ่นเยาวชนชายอายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน 18 ทีม และรุ่นประชาชนชายทั่วไป จำนวน 69 ทีม เริ่มการแข่งขันเปิดสนามนัดแรกในวันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2552

ซึ่งในวันดังกล่าวจะมีพิธีเปิดการแข่งขัน ณ สนามศูนย์กีฬา กรมสามัญศึกษา โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย โดยนายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดการแข่งขัน สำหรับการแข่งขัน อบจ.ลำปางโอเพ่น ครั้งที่ 1 ประจำปี 2552 แบ่งรุ่นการแข่งขันและรางวัล ดังนี้

1.รุ่นประชาชนชายทั่วไปชนะเลิศ ได้รับถ้วยเกียรติยศ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท รองชนะเลิศ ได้รับถ้วยเกียรติยศ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 30,000 บาทอันดับที่ 3 ได้รับถ้วยเกียรติยศ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 20,000 บาทอันดับที่ 4 ได้รับถ้วยเกียรติยศ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 10,000 บาทอันดับที่ 5-8ได้รับเงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท

2.รุ่นเยาวชนชายอายุไม่เกิน 18 ปี ชนะเลิศ ได้รับถ้วยเกียรติยศ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท รองชนะเลิศ ได้รับถ้วยเกียรติยศ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 6,000 บาทอันดับที่ 3 ได้รับถ้วยเกียรติยศ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 5,000 บาทอันดับที่ 4 ได้รับถ้วยเกียรติยศ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 4,000 บาท

3.รุ่นยุวชนชายอายุไม่เกิน 15 ปี ชนะเลิศ ได้รับถ้วยเกียรติยศ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท รองชนะเลิศ ได้รับถ้วยเกียรติยศ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 4,000 บาทอันดับที่ 3 ได้รับถ้วยเกียรติยศ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 3,000 บาทอันดับที่ 4 ได้รับถ้วยเกียรติยศ เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 2,000 บาทภายหลังที่การแถลงข่าวสิ้นสุดลง ได้มีการจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน

ที่มา : http://www.lp-pao.go.th/information/view.php?id_view=202
ภาพและเขียนข่าว : นางเตือนใจ ภักดีวงศ์ ผู้ช่วยนักวิชาการประชาสัมพันธ์
................
สานฝันบอลลำปาง
อาทิตย์ 21
มิถุนา 52

แนวรบทางวัฒนธรรม แฟนคลับทีมฟุตบอล ฯลฯ


แบนเนอร์เชียร์ทีมเลย


สตูลก็มา บอกว่า We Are The Exorcist!


พลพรรค "ยักษ์แสด" อุดรธานี



แบนเนอร์ปลุกเร้าจิตวิญญาณทีมฟุตบอลที่น่าขนลุกของ สมุทรปราการเอฟซี

ที่มาภาพจาก http://www.cheerthaipower.com/webboard/index.php?topic=4154.0

ไม่เพียงแต่นักเตะเท่านั้นที่จะพาทีมไปสู่ฝั่งฝัน การสร้างความรู้สึกเป็น "เจ้าของทีม" การสร้างความผูกพันของแฟนบอล ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการผลักดัน และสนับสนุนให้ทีมก้าวไปข้างหน้า เรามีบทเรียนมากมายจากหลายจังหวัดที่ได้ริเริ่มไปแล้ว ทั้งในระดับพรีเมียร์ลีก ดิวิชั่น1 หรือกระทั่งดิวิชั่น 2 เราจะเห็นว่าภาคเหนือตอนบน ไม่มีทีมใดมีโอกาสไต่ระดับขึ้นไปเล่นถึงดิวิชั่น 1 ได้เลย มิพักจะต้องพูดถึงไทยพรีเมียร์ลีก

แต่กระนั้นสิ่งสำคัญที่เร่งสร้างกันได้เลย คือกระแสการตื่นตัวสร้างความรู้สึกร่วมของทีมบอลในจังหวัดตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเชียงรายที่ผมยกตัวอย่างมากระทู้ที่แล้ว หรือแม้แต่เชียงใหม่ ที่ผลงานอาจจะไม่ดีเท่าไหร่ แต่ก็เริ่มวางระบบแล้ว

สิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นอย่างน่าสนใจก็คือ โลโก้ เสื้อทีม แม้กระทั่งเพลงเชียร์ของทีม เป็นที่น่าสนใจมากว่า ถึงขณะนี้ได้มีการนำเพลงเชียร์ของแต่ละจังหวัดที่ได้แต่งไว้แล้วมาลงเว็บเพื่อให้ดาวน์โหลด ทางภาคเหนือเรา มี เชียงใหม่ ยูไนเต็ด เพลง นักสู้แห่งล้านนาเพลง พวกเราคือหมาเห่าฯเพลง เราจะไม่ทิ้งกันพิษณุโลก เพลง เชียร์ พิษณุโลกชัยนาท เพลง เชียร์ ชัยนาท (http://www.cheerballthai.com/board/viewthread.php?tid=139) หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์ที่จะเป็นศูนย์กลางของข้อมูลข่าวสารที่แฟนบอลทั่วมุมโลกสามารถจะติดตามข่าวสารได้ 24 ชั่วโมง เช่นเว็บไซต์ของ เชียงใหม่ยูไนเต็ด http://www.chiangmaifc.com/

สิ่งเหล่านี้ต้องการทักษะในการออกแบบ การแต่งเพลง และการสร้างสรรค์ศิลปะสมัยใหม่ ให้เป็นสัญลักษณ์ร่วมกันของแฟนคลับ ที่ขาดไม่ได้เช่นเดียวกัน
.........................
สานฝันบอลลำปาง
อาทิตย์ 21
มิถุนา 52

คำถามเก่า แต่ไม่รู้ว่าจะเป็นคำตอบเก่าหรือเปล่า กับเรื่องทีมลำปาง

ผม search ไปเจอหน้าเว็บหนึ่งโดยบังเอิญ เนื้อความเป็นดังนี้ครับ

คลายข้อสงสัยให้หน่อยครับ เกี่ยวกับทีมฟุตบอลลำปาง : วันที่ 17 ต.ค. 2549
- อยากทราบว่าตอนนี้เล่นอยู่รายการไหนอยู่ครับ ไม่เล่นอยู่โปรลีกเหรอครับ - อยากทราบว่าทีมใช้สีประจำทีมสีอะไรครับ - โลโก้ทีมที่ใช้เป็นยังไงใช้แบบไหนครับไม่เคยเห็นเลยอยากทราบมากๆอยากได้ด้วยครับ - สุดท้ายขอรายระเอียดทีมครับ ...............ช่วยหน่อยครับอยากทราบจริงๆครับ ขอบคุณครับ....................................
kJfc s@hotmail.com


คำตอบที่ 1 : วันที่ 2 พ.ย. 2549
ไม่เล่นอยู่โปรลีก เนื่องจากไม่ผ่านรอบคัดเลือกครับ
ฅนหัวหมาก khanthee@sat.or.th


ที่มา http://www3.sat.or.th/sat.th/WebboardReply.aspx?POID=453&m=94&mtypeid=90

นี่เป็นกระทู้ที่ตั้งขึ้นเกือบ 3 ปีได้แล้ว แต่ผมคิดว่าก็เป็นคำถามที่คอบอลลำปางอยากรู้คำตอบเช่นกัน อยากรู้เหมือนกัน ใครมีข้อมูลมากกว่านี้ว่า ตอนนี้เราอยู่ที่ไหนยังไงกันแน่...แต่ที่แน่ๆ ผมเปิดดูในเว็บดิวิชั่น1 และดิวิชั่น2 แล้วไม่มีทีมลำปางอย่างแน่นอน

เท่าที่รู้มาว่าจะต้องมีการส่งทีมแข่งขันคัดเลือกในดิวิชั่น 2 เสียก่อน ซึ่งดิวิชั่น 2 จะมีการเตะกันในภาคต่างๆ แล้วนำตัวแทนแต่ละแห่งไปเตะในดิวิชั่น 1 ต่อไป ในดิวิชั่น 2 ของภาคเหนือ มีทีมดังนี้ เชียงราย พิจิตร เพชรบูรณ์ ชัยนาท อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย เชียงใหม่ยูไนเต็ด กำแพงเพชร ตาก แพร่ เรียงลำดับตามอันดับการแข่งขันล่าสุด ถึงนัดที่ 10 ซึ่งจะมีการเตะสนามเหย้า-เยือนกันอย่างจริงจัง

เมื่อไหร่จะถึงทีของทีมลำปางบ้างหนา...

เอ้าถ้ากลัวนึกภาพกันไม่ออก ไปดูความคึกคัก และศักยภาพของทีมเชียงรายกันบ้าง ขนาดเป็นทีมในดิวิชั่น 2 นะ ตอนนี้นำเป็นจ่าฝูง ไม่เพียงฝีเท้านักเตะ แต่ยังได้รับแรงใจสนับสนุนจากคนรุ่นใหม่เชียงรายไม่น้อย

อันนี้เป็นโลโก้ล่าสุด เป็นรูปกว่าของ Chiangrai FC


นี่เป็นภาพนักเตะทีม Chiangrai FC

เค้ามีการทำกระทู้พูดคุย สร้างชุมชนฟุตบอลคนเชียงรายกันด้วยครับ ในนี้


อันนี้แฟนคลับครับ Orange Power
กองเชียร์น่ารักๆอย่างนี้ คนลำปางว่ายังไง
.........................
สานฝันบอลลำปาง
อาทิตย์ 21
มิถุนา 52

ภารกิจแรก รุกงานเชิงข้อมูลข่าวสาร


น่าจะเป็นภาพทีมชาติไทยชุดบุกโอลิมปิกปี 2499
ท่านทราบหรือไม่ว่า อ.นคร สมบูรณ์ เป็นอดีตนักเตะทีมชาติไทย ในชุดที่ได้ไปแข่งขันโอลิมปิกที่ออสเตรเลีย ในปีพ.ศ.2499 ที่เป็นชุดแรกและชุดเดียวของไทยที่ก้าวขึ้นสู่เวทีระดับโลกอย่างนั้น แต่ด้วยข้อผิดพลาดบางประการ อ.นคร จึงไม่ได้ไปร่วมทีมเตะ (ได้รับการบอกเล่าจาก ผศ.ณรงค์ สมิทธิธรรม-มิถุนายน 2552)

ซึ่งผมเชื่อว่าเรายังมีข้อมูลอีกมากมายที่ยังไม่ได้เก็บรวบรวมและเล่าเป็นเกียรติยศและความภาคภูมิใจกัน ในแวดวงฟุตบอลลำปาง ไม่เพียงเท่านั้นควรที่จะมีการรวบรวมสถิติการแข่งขันของทีมลำปางเท่าที่จะทำได้ รวมไปถึงข้อมูลนักเตะ และข่าวสารความเคลื่อนไหวต่างๆ เพื่อความพร้อม และความรู้จักและเข้าใจบอลลำปาง อย่างที่แฟนๆบอลลำปางควรจะรู้

เช่นเดียวกันกับการนำเสนอ ความเคลื่อนไหวในระดับประเทศที่จะทำให้เห็นว่า ขณะที่เราหยุดเดินนั้น เท่ากับว่าเราได้ถอยหลังแล้ว...
ตามผมมา...ผมจะพาไปดู
...................
สานฝันบอลลำปาง
อาทิตย์ 21
มิถุนา 5

อีกเสียงที่ร่ำร้อง ถามหา "ทีมฟุตบอลลำปาง"

พื้นที่ตรงนี้ เป็นเสียงเล็กๆที่เราอยากจะตะโกนให้สุดเส้นเสียง
และเรียกร้องให้พวกเราชาวลำปาง ร่วมมือ ร่วมใจกันสร้างกระแสความตื่นตัว ในการสร้างทีมลำปาง
ให้เป็นของพวกเราทุกคน

วันนี้จะขอเริ่มต้นนับ 1 อย่างเป็นทางการ

พื้นที่ตรงนี้ จะผสมผสานกับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับฟุตบอลลำปางให้มากที่สุด เท่าที่กำลังของคนที่มีใจรักจะทุ่มเทให้ได้
รวมกับความเคลื่อนไหว และความคึกคักที่บ้านอื่น เมืองอื่น จังหวัดอื่น เขาเริ่มออกตัววิ่งกันไปแล้ว

ไม่มีวันถึงเส้นชัย ถ้าเราไม่เริ่มออกเดิน

สานฝันบอลลำปาง
อาทิตย์ 21
มิถุนา 52