>>>Lampang Soccer : ความเคลื่อนไหววงการฟุตบอลลำปาง<<< จุดเริ่มต้นของชุมชนฟุตบอลลำปาง ข่าวสารในแวดวง ทางฝันสู่ไทยพรีเมียร์ลีก ติดตามได้ที่นี่ +++ รักลำปาง...ดูบอลลำปาง : สานฝันสู่ไทยพรีเมียร์ลีก +++>>>แชมป์ล่าสุดในลำปาง<<< ฟุตซอล เทศบาลนครลำปาง ประจำปี 2552 ทีมชนะเลิศ รุ่นอาุยุไม่เกิน 18 ปี ได้แก่ ทีมมะพร้าวหวาน B นักกีฬาดีเด่นคือ นายภานุพงศ์ กิวงค์พรม รุ่นประชาชนชายทั่วไป (อายุ 40 ปีขึ้นไป) ได้แก่ ทีมพรานเหนือ รุ่นประชาชนชายทั่วไป ได้แก่ทีม มะพร้าวหวาน C นักกีฬาดีเด่นคือ นายณัฐภัทร ไชยจักร จากทีมมะพร้าวหวาน+++ฟุตบอล 11 คน เทศบาลนครลำปาง ประจำปี 2552 (15 มีนา-3 พฤษภา 52) ทีมชนะเลิศ รุ่นอาุยุไม่เกิน 18 ปี ได้แก่ ทีมโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย นักกีฬาดีเด่นได้แก่ นายพงศกร ยาลังกา จากทีมโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย รุ่นประชาชนชายทั่วไป (อายุ 40 ปีขึ้นไป) ได้แก่ ทีมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ นักกีฬาดีเด่นคือ นายสมชาย ติวะตันสกุล จากทีมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ รุ่นประชาชนชายทั่วไป ได้แก่ ทีมชมรมกีฬารถไฟนครลำปาง นักกีฬาดีเด่นได้แก่ นายอาุภาพ จรเทศ จาก ทีมชมรมกีฬารถไฟนครลำปาง Lampang Soccer

คุย+แลกเปลี่ยน+แจ้งข่าววงการฟุตบอลลำปางได้ที่นี่

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บางทัศนะ ว่าด้วยฟุตบอลอาชีพ


ภาพจากการ์ดโทรศัพท์ ตัวมาสคอตของทีมในเจ-ลีก ลีกจากญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ที่มา : http://www.north-wales-collectables.com/-p-3679.html


ตัดมาส่วนหนึ่งที่น่าสนใจให้อ่านกันครับ ว่าด้วยเรื่องฟุตบอลอาชีพในเมืองไทย

ฟุตบอลไทย กับ พัฒนาการที่หยุดยั้ง
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=374323

ครั้งหนึ่ง “คุณ บอ.บู๋” คอลัมน์นิสต์ชื่อดังจากค่ายสตาร์ซอคเกอร์ เคยให้ความเห็นทำนองว่าที่ฟุตบอลไทยไม่พัฒนา เราไม่ควรมาโทษว่าเพราะคนไทยมัวแต่สนใจบอลนอก คุณ บอ บู๋ แนะนำว่าทางที่ดีเราควรหันกลับมามองตัวเราเองก่อนว่าลีกของเรามันไม่พัฒนา ตรงไหน

ผมเห็นด้วยกับคุณ บอ.บู๋ ครับ ทั้งนี้หากเราใช้กรอบการวิเคราะห์ของวิชาเศรษฐศาสตร์มองความล้มเหลวของ ฟุตบอลอาชีพในบ้านเรา เราก็ต้องหาคำตอบให้ได้ว่าทำไมผู้ผลิตบริการฟุตบอลบันเทิงอย่างสมาคมฟุตบอล นั้นไม่สามารถผลิตบริการฟุตบอลบันเทิงได้เป็นที่ประทับใจชาวไทยผู้บริโภค ฟุตบอล

ผลจากความล้มเหลวของฟุตบอลลีกอาชีพทำให้ “สโมสรฟุตบอล” ไม่สามารถพัฒนาตนเองจนขยับขึ้นมาเป็น “ธุรกิจการกีฬา” เมื่อสโมสรไม่พัฒนา คำว่า “นักฟุตบอลอาชีพ” ก็ไม่เกิดเพราะนักฟุตบอล คือ แรงงานที่มีทักษะ (Skill labor)ในการผลิตบริการฟุตบอลบันเทิง นอกจากนี้นักฟุตบอลที่มีฝีเท้าดีก็ย่อมหาทางเลือกที่ดีให้กับตัวเองด้วยการ ย้ายตัวเองไป “ค้าแข้ง” ในลีกและสโมสรที่ให้ค่าเหนื่อยในระดับที่สมน้ำสมเนื้อกับการเป็น “นักฟุตบอลอาชีพ” ด้วยเหตุนี้เองนักเตะทีมชาติไทยของเราจึงนิยมไปค้าแข้งตั้งแต่ลีกล่างๆใน ยุโรป เอสลีกในสิงค์โปร์ เซมิโปรลีกในมาเลเซียรวมไปถึงวีลีกในเวียดนาม

อย่าง ไรก็ตามปัจจัยเล็กๆที่อาจทำให้บอลลีกภายในประเทศเริ่มพัฒนาได้ คือ การสร้างความรู้สึก “จังหวัดนิยม” ขึ้นมาก่อน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อความกระหายของแฟนฟุตบอลประจำจังหวัดที่อยากเข้ามา ดูผลงานของจังหวัดตัวเอง เหมือนที่ครั้งหนึ่งบ้านเราเคยมีทัวร์นาเมนต์ “ยามาฮ่า ไทยแลนด์ คัพ” (Yamaha Thailand Cup) ซึ่งผมคิดว่าเป็นทัวร์นาเมนต์ที่มีสีสันมากที่สุดทัวร์นาเมนต์หนึ่งครับ

กรณี จังหวัดนิยม ผมชื่นชมการสร้างทีมของ “ชลบุรี เอฟซี” หรือ “ฉลามชล” (The Shark) ที่สามารถสร้างสีสันให้กับฟุตบอลไทยแลนด์ลีกได้ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา และเราคงแอบหวังลึกๆว่าจะมีจังหวัดต่างๆเริ่มหันมาพัฒนาและร่วมสร้างฟุตบอล ลีกภายในประเทศอย่างจริงจังโดยไม่ต้องรอการชี้นำจาก “สมาคม” เพียงอย่างเดียว

ในวงการฟุตบอลอาเซียนด้วยกัน สิงค์โปร์กำลังพัฒนา “เอสลีก” (S-league) ของพวกเขาให้เจริญรอยตาม “เจลีก” (J-leauge) เช่นเดียวกับที่เวียดนามได้สร้างให้ “วีลีก” (V-league) มีความแข็งแกร่งจนทำให้เวียดนามประสบความสำเร็จในระดับภูมิภาคได้อย่างที่ พวกเขาฝันไว้

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้ดูการแข่งขันฟุตบอลระดับโรงเรียนประถมที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ผมสนุกไปกับเกมส์ที่เห็นเด็ก ป.5-ป.6 เล่นบอลกันด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นทุ่มเท มันเป็นภาพความสุขแบบเรียบง่ายที่ครั้งหนึ่งผมเชื่อว่าเด็กผู้ชายหลายคนคง เคยมีประสบการณ์แบบนี้มาแล้ว

บางที “ฟุตบอล” อาจจะไม่ต้องการอะไรมากมายหรอกครับ ขอแค่ให้ “ใจ” ไปกับมันทั้งคนเล่น คนทำทีม หรือแม้แต่คนบริหารสมาคมฟุตบอลเองก็ตาม

Hesse004
........................
สานฝันบอลลำปาง
พุธ 24
มิถุนา 52

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น