>>>Lampang Soccer : ความเคลื่อนไหววงการฟุตบอลลำปาง<<< จุดเริ่มต้นของชุมชนฟุตบอลลำปาง ข่าวสารในแวดวง ทางฝันสู่ไทยพรีเมียร์ลีก ติดตามได้ที่นี่ +++ รักลำปาง...ดูบอลลำปาง : สานฝันสู่ไทยพรีเมียร์ลีก +++>>>แชมป์ล่าสุดในลำปาง<<< ฟุตซอล เทศบาลนครลำปาง ประจำปี 2552 ทีมชนะเลิศ รุ่นอาุยุไม่เกิน 18 ปี ได้แก่ ทีมมะพร้าวหวาน B นักกีฬาดีเด่นคือ นายภานุพงศ์ กิวงค์พรม รุ่นประชาชนชายทั่วไป (อายุ 40 ปีขึ้นไป) ได้แก่ ทีมพรานเหนือ รุ่นประชาชนชายทั่วไป ได้แก่ทีม มะพร้าวหวาน C นักกีฬาดีเด่นคือ นายณัฐภัทร ไชยจักร จากทีมมะพร้าวหวาน+++ฟุตบอล 11 คน เทศบาลนครลำปาง ประจำปี 2552 (15 มีนา-3 พฤษภา 52) ทีมชนะเลิศ รุ่นอาุยุไม่เกิน 18 ปี ได้แก่ ทีมโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย นักกีฬาดีเด่นได้แก่ นายพงศกร ยาลังกา จากทีมโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย รุ่นประชาชนชายทั่วไป (อายุ 40 ปีขึ้นไป) ได้แก่ ทีมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ นักกีฬาดีเด่นคือ นายสมชาย ติวะตันสกุล จากทีมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ รุ่นประชาชนชายทั่วไป ได้แก่ ทีมชมรมกีฬารถไฟนครลำปาง นักกีฬาดีเด่นได้แก่ นายอาุภาพ จรเทศ จาก ทีมชมรมกีฬารถไฟนครลำปาง Lampang Soccer

คุย+แลกเปลี่ยน+แจ้งข่าววงการฟุตบอลลำปางได้ที่นี่

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไทยลีกพาณิชย์ สู้วิกฤตเศรษฐกิจชาติ : ข้อคิดจากมติชน





มติชนรายวัน
วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11449
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01spo11150752&sectionid=0114&day=2009-07-15

ในภาวะที่เศรษฐกิจประเทศกำลังถดถอย ร้อนจนรัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระยะสั้น และระยะยาว แต่ธุรกิจกีฬาที่อยู่ในช่วงขาขึ้นสวนทางกับการค้าอื่นๆ หนึ่งในนั้นก็คือ ฟุตบอล ไทยลีก ที่ได้ปิดเลกแรกลงไปแล้วและกำลังจะเริ่มฟาดแข้งเลกสองในวันที่ 25 กรกฎาคม

ยืนยันได้จากยอดผู้ชมที่พัฒนาเป็นผู้เชียร์กีฬาอย่างเต็มตัว รวมถึงยอดจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก ที่เฉลี่ยรวม 16 สโมสรมากขึ้นผิดหูผิดตา เกิดเงินสะพัดหมุนเวียนจากแต่ละสนามรวมกันหลายสิบล้านบาท ไม่เพียงแค่ในไทยพรีเมียร์ลีกเท่านั้น ยังลุกลามไปยังดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 ด้วย โดย เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด สโมสรน้องใหม่เงินหนาได้เคยประกาศว่า มีรายได้เข้าทีมในนัดที่เปิดสนามธันเดอร์โดม รับ ทีทีเอ็ม-สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน เกมเดียวถึง 5 แสนบาท

นายรณฤทธิ์ ซื่อวาจา ผู้จัดการทั่วไปทีมเมืองทองฯ "กิเลนผยอง" กล่าวว่า จบเลกแรกทีมมีรายได้จากค่าตั๋วประมาณ 2 ล้านบาท ของที่ระลึก 1.5 ล้านบาท โดยดำเนินงานด้านการตลาดภายใต้แนวคิด "ทีมของคุณ ฮีโร่ของคุณ" สินค้า หรือ จุดขายของทีมคือ ความแข็งแกร่ง และฟุตบอลอันมีเสน่ห์สวยงาม จะเห็นได้ว่าสโมสรพยายามจะคว้านักเตะระดับซุปเปอร์สตาร์ฝีเท้าดีมาร่วมตลอด ดาวดังในทีม อาทิ ธีรศิลป์ แดงดา, โซมาโฮโร่ ยาย่า ชาวไอวอรีโคสต์ มีลีลาการเล่นตื่นเต้นเร้าใจเรียกผู้ชมได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันมีการทำโปรโมชั่นเอาใจแฟนบอลควบคู่กันไป อาทิ การให้สิทธิพิเศษลดค่าตั๋ว 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับแฟนคลับ ขณะที่การประชาสัมพันธ์ จะทำผ่านเว็บไซต์ www.mtutd.tv รถกระจายเสียงในจังหวัดนนทบุรี หนังสือพิมพ์ และป้ายต่างๆ ซึ่งจากการจบอันดับ 3 ของตารางเลกแรก ทำให้การเจรจาติดต่อผู้สนับสนุนทีมง่ายขึ้น และน่าจะได้เพิ่ม 5-6 ล้านบาทเป็นทุนบริหารในเลกสอง จากเดิมต้นฤดูกาลสปอนเซอร์ 8 ราย ยอดสนับสนุนรวม 15 ล้านบาท

"กลยุทธ์ต่างๆ ที่ออกมา ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แฟนบอลเพิ่มมากขึ้นจากตอนอยู่ดิวิชั่น 1 หลายเท่าตัว และผมคิดว่าการลงทุนมหาศาลนี้ อีกไม่เกิน 3 ปีจะคุ้มทุน ในข้อแม้ที่ว่ากระแสยังต้องดีเหมือนเดิมนะ"

นายอรรณพ สิงห์โตทอง ผู้ช่วยผู้จัดการทีมชลบุรี สโมสรที่มีกองเชียร์มากที่สุดทีมหนึ่ง กล่าวว่า มีรายได้จากตั๋วเข้าชมในบ้าน 8 นัดของเลกแรก 1.85 ล้านบาท สินค้าที่ระลึก 4.4 ล้านบาท สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เงินส่วนนี้ไม่ถือเป็นรายได้หลักของสโมสร เพราะยังเทียบไม่ได้กับเงินสนับสนุนจากสปอนเซอร์ ปีละ 20 ล้านบาท แต่ถึงอย่างไรก็ดีสิ้นปี ปิดงบฯสโมสรก็ไม่ได้มีกำไร เพียงแค่ใช้บริหารได้ต่อฤดูกาลเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายมีเยอะทั้งการจัดการแข่งขัน หรือ การเดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงเงินเดือนสวัสดิการนักเตะ แต่อนาคตการขายลิขสิทธิ์โทรทัศน์ผ่านทางบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก รวมถึงการซื้อ-ขายนักฟุตบอลจะเป็นสองช่องทางรายได้หลัก และจากกระแสแฟนบอลเวลานี้ที่จุดติดแล้ว เชื่อว่าไม่เกิน 5 ปี ทุกสโมสรจะอยู่ได้ และมีผลกำไรที่งดงามปีละหลายล้านบาท

"กลเม็ดในการทำให้แฟนคลับรักสโมสรนานๆ ก็คือ ความจริงใจ เราต้องการให้พวกเขาเต็มร้อยทั้งผลงานในสนาม และนอกสนาม เช่น การบริการรถรับส่ง และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทีมในทุกด้าน เพราะพวกเขาคือ ผู้เล่นคนที่ 12 ฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้สโมสรเดินหน้าต่อไปได้"

สองสโมสรข้างต้นเป็นตัวอย่างทีมที่บริหารงานด้านการตลาดได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่สำหรับ จุฬา ยูไนเต็ด ถือเป็นหนึ่งในทีมที่ต้องปรับกระบวนใหม่ ด้วยเพราะผลสำรวจของบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกระบุว่า มียอดผู้ชมเฉลี่ยน้อยที่สุด

นายมนตรี เครือวัลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการทีม มองถึงสาเหตุสำคัญที่จำนวนผู้ชมน้อย ทั้งที่สนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่กลางกรุง ว่า เกิดจาก 1.สินค้า หมายถึง สโมสร ยังไม่ดึงดูดใจพอ ไม่มีดาวดัง ประกอบกับผลงานตกต่ำรั้งบ๊วย 2. ขาดการประชาสัมพันธ์ และเอาใจใส่กับคำว่า "แฟนคลับ" น้อยเกินไป จนถึงเวลานี้ยังไม่มีการผลิตของที่ระลึก แต่กำลังจะเริ่มแก้ไขปัญหาข้างต้นในเลกที่สอง โดยจะตั้งฝ่ายการตลาดขึ้นมาดูแล เพื่อหารายได้เข้าสโมสรเป็นการแบ่งเบาภาระชดเชยเงินทุนในการทำทีมปีนี้จำนวน 10 ล้านบาท

ด้าน โอสถสภา เอ็ม 150 ต้านพลังศรัทธาแฟนบอลไม่ไหว สนามธนารมณ์ ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ภายในหมู่บ้านธนารมณ์จำนวน 2 พันที่นั่งไม่สามารถรองรับกองเชียร์พลังเอ็มได้ โดยเตรียมย้ายไปใช้สนามองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี ความจุ 5 พันที่นั่งเป็นสนามเหย้าแทนภายในเลกที่สองนี้ นายทวี อัมพรมหา เลขานุการทีม กล่าวว่า เสียดายเหมือนกันที่สร้างแฟนประจำได้แล้ว แต่ต้องย้ายสนามอีก แต่เป็นการย้ายเพื่ออนาคต เพราะสนามเดิมขยายไม่ได้อีกแล้ว โดยเหลือขั้นตอนการอนุมัติจากกรรมการบริหารสโมสร และบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกก็จะย้ายทันที เบื้องต้นได้หารือกับ อบจ.สระบุรี อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงชื่อเป็น "โอสถสภา-สระบุรี" ในอนาคต เพื่อซื้อใจ และสร้างกลุ่มแฟนคลับใหม่ๆ ในจังหวัด เชื่อว่าอีกไม่นานอัฒจันทร์เดิม จะต้องเพิ่มที่นั่งอีกแน่นอน

หากยังไม่ได้สัมผัส และร่วมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนธุรกิจฟุตบอลไทยให้ก้าวสู่การเป็นลีกอาชีพอย่างเต็มตัว ด้วยการไปชมในสนาม หรือ ซื้อสินค้าที่ระลึก ขณะที่นักธุรกิจ หรือ องค์กรใหญ่ที่ยังไม่ได้ลงทุนกับลีกที่กำลังบูมในเวลานี้ ยังมีเลกสองรอให้แก้ตัวอยู่นะขอรับ!!

หน้า 30
.......................
สานฝันบอลลำปาง
ศุกร์ 17
กรกฎา 52

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น